เซ็บเดิร์ม คืออะไร? เซ็บเดิร์มที่หน้าและศีรษะ รักษาให้หายได้ไหม?

เซ็บเดิร์ม หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อโรคผิวหนังอักเสบ เป็นปัญหาผิวที่พบบ่อย โดยเฉพาะบริเวณหน้าและหนังศีรษะ อาการเช่น ผื่นแดง ผิวลอก และรังแค อาจสร้างความรำคาญและกระทบต่อความมั่นใจ หลายคนมักสงสัยว่าอาการนี้รักษาได้หรือไม่ และมีวิธีจัดการอย่างไร? The One Clinic มีคำตอบในบทความนี้

ทำความรู้จัก ‘เซ็บเดิร์ม’ คืออะไร?

เซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) คือ โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อย หรืออีกชื่อที่เรียกว่าโรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน โดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นผื่นแดง สะเก็ดสีขาวบริเวณผิวหนัง และมีอาการคันบริเวณที่เป็นผื่น พบบ่อยที่ใบหน้าและหนังศีรษะ รวมทั้งแผ่นหลัง หน้าอก แขน ขา และขาหนีบ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความมันมาก เซ็บเดิร์มเป็นโรคที่รักษาให้หายได้ แต่ต้องใช้เวลานาน และอาจจะกลับมาเป็นซ้ำในบริเวณเดิม ๆ ได้อีก หากผิวส่วนนั้นยังมีความมัน

สาเหตุที่ทำให้เกิดเซ็บเดิร์ม

สำหรับสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดเซ็บเดิร์มนั้นแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละบุคคล โดยมักเกิดจากหลายปัจจัยรวมกัน ดังนี้:

  • การติดเชื้อของยีสต์ ชนิด Malassezia

โดยธรรมชาติยีสต์ชนิดนี้สามารถพบได้ทั่วไปบนผิวหนังมนุษย์ หากแต่ในบางคนอาจมีจำนวนมากเกินปกติและก่อให้เกิดการอักเสบของผิวหนังได้ง่าย

  • การผลิตน้ำมันส่วนเกินจากต่อมไขมัน

หากบนผิวหนังมีการผลิตน้ำมันมากเกินก็เป็นต้นตอการสะสมของสารอาหารที่ยีสต์ Malassezia ใช้ในการเจริญเติบโต ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคืองและมีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง

  • ปัจจัยทางพันธุกรรม: 

บางรายอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเกิดเซ็บเดิร์มเนื่องจากปัจจัยทางพันธุกรรม หากบุคคลในครอบครัวเคยมีประวัติของอาการเซ็บเดิร์มก็เพิ่มโอกาสเสี่ยงที่คุณจะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนทั่วไป

  • ระบบภูมิคุ้มกัน

ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันหรือการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่สมดุลอาจทำให้เกิดเซ็บเดิร์มได้ง่ายขึ้น

  • ความเครียด

ความเครียดทั้งทางจิตใจและกายสามารถกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการอักเสบและเกิดเซ็บเดิร์มได้

  • สภาพอากาศ

สภาพอากาศเย็น แห้ง ขาดความชุ่มชื้น หรือการเปลี่ยนแปลงของอากาศ มีผลทำให้เกิดเซ็บเดิร์มได้เช่นกัน เพราะต่อมไขมันใต้ผิวหนังจะผลิตน้ำมันออกมามากเกินความจำเป็น

  • ปัจจัยอื่น ๆ

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดเซ็บเดิร์มได้ อาทิ ฮอร์โมน การขาดวิตามินหรือสารอาหารบางชนิด และการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ไม่เหมาะสมจนผิวระคายเคืองและบอบบาง

อาการของโรคเซ็บเดิร์ม

อาการเซ็บเดิร์ม

สำหรับผู้ที่มีความกังวลเกี่ยวกับโรคเซ็บเดิร์ม วันนี้ The One Clinic มีลักษณะอาการที่สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับความรุนแรง มาอธิบายดังนี้:

ระดับเบา

  • ผิวลอกเป็นแผ่นบาง ๆ หรือเป็นขุยเล็กน้อย 
  • ผิวแห้งเล็กน้อย รู้สึกระคายเคืองและอาจมีการแสบผิวบ้างในบางครั้ง
  • คันผิวในบริเวณที่เป็นเซ็บเดิร์มเล็กน้อย

ระดับปานกลาง

  • ผื่นสีแดงหรือชมพู 
  • ผิวลอกเป็นแผ่นใหญ่ขึ้น และเป็นขุยมากขึ้น
  • รู้สึกแสบผิวเมื่อสัมผัส โดนความร้อนหรือโดนแสงแดด
  • อาการคันผิวเริ่มมีความรุนแรงและระคายเคืองมากขึ้น 

ระดับรุนแรง

  • ผื่นสีแดงเข้ม ผิวอักเสบชัดเจน และอาจมีตุ่มน้ำหรือผื่นลักษณะเป็นสะเก็ดร่วมด้วย
  • ผิวลอกเป็นแผ่นหนา และเป็นขุยมากจนสังเกตได้ชัดเจน
  • มีอาการแสบผิวอย่างต่อเนื่อง
  • อาการคันผิวมีความรุนแรงมากขึ้นจนทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัวและเริ่มกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน

ชี้จุดสังเกต! บริเวณที่พบอาการเซ็บเดิร์มบ่อย

เซ็บเดิร์มเป็นโรคผื่นแพ้ต่อมไขมันที่สามารถเกิดได้ทุกที่บนร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณที่มีการผลิตน้ำมันมากบนผิวหนังและมีไรขน ยกเว้นฝ่ามือและฝ่าเท้าที่ยากต่อการเกิดโรคเซ็บเดิร์ม

1. เซ็บเดิร์มบริเวณศีรษะ  

ศีรษะของมนุษย์เป็นส่วนที่ผลิตน้ำมันและมีผมเยอะ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดเซ็บเดิร์มได้มากกว่าบริเวณอื่น ๆ ซึ่งอาจะทำให้เกิดผื่นแพ้ได้มากและมีผมร่วงในจุดที่เป็นเซ็บเดิร์มได้เช่นกัน

2. เซ็บเดิร์มบริเวณใบหน้า

  • เซ็บเดิร์มที่จมูก : โดยเฉพาะบริเวณร่องแก้มและปีกจมูก เพราะเป็นส่วนที่ผิวบอบบางและมีการผลิตน้ำมันจำนวนมาก
  • เซ็บเดิร์มที่บริเวณไรผม : พบมากในบริเวณคิ้วหรือไรขนที่จอนหู สาเหตุเป็นเพราะมีขนเกิดขึ้นมากและอาจก่อให้เกิดการอักเสบได้ง่าย
  • เซ็บเดิร์มที่หู : ส่วนมากพบที่ด้านหลังของใบหู เนื่องจากหลังใบหูมีไรขนอ่อนและความมันค่อนข้างมาก และยังเป็นจุดที่ทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึง

3. เซ็บเดิร์มบริเวณร่างกาย

  • เซ็บเดิร์มที่หน้าอกและหลัง : เนื่องจากส่วนหน้าอกและหลังของมนุษย์เป็นจุดที่มีการผลิตน้ำมันมากและมีไรขนอ่อน ๆ อยู่ จึงเสี่ยงต่อการเกิดเซ็บเดิร์ม 
  • เซ็บเดิร์มที่รักแร้ : โดยรักแร้เป็นพื้นที่ที่มีต่อมไขมันและต่อมเหงื่อที่หนาแน่น จึงอาจเกิดผื่นเซ็บเดิร์มได้
  • เซ็บเดิร์มที่อวัยวะเพศ : พบได้น้อยแต่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากเซ็บเดิร์มสามารถเกิดขึ้นได้ในบริเวณที่มีต่อมไขมันหนาแน่น รวมถึงบริเวณที่มีความอับชื้นและการเสียดสีอยู่ตลอดเวลา

“หากมีอาการของเซ็บเดิร์ม สามารถเข้ารับคำปรึกษาและการดูแลได้ที่ The One Clinic เพื่อเริ่มต้นการรักษาอย่างถูกต้องและตรงจุดค่ะ”

ความแตกต่างของโรคเซ็บเดิร์มและโรคผิวหนังอื่น ๆ

อาการของโรคผิวหนังอาจจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันจนอาจจะทำให้เราสับสนได้จนรักษาผิดวิธี โดยโรคที่พบมากและมีลักษณะคล้ายกับเซ็บเดิร์ม คือ โรคสะเก็ดเงิน และนี่คือข้อแตกต่างระหว่างสะเก็ดเงินและเซ็บเดิร์มที่ The One Clinic เปรียบเทียบให้ชัด ๆ

โรคและอาการ

ผู้ที่มีสีผิวอ่อน

ผู้ที่มีสีผิวเข้ม

เซ็บเดิร์ม

มีอาการคันหรือแสบเป็นบางครั้ง


เกล็ดจะบางกว่า มักจะเป็นสีชมพูอมเหลือง มีลักษณะเป็นแผ่นมันและอาจพบเกล็ดสีเหลืองคล้ายรังแค บนหนังศีรษะ

มีรอยแดงร่วมกับการลอกของผิวหนัง บริเวณที่มีอาการอาจมีสีที่อ่อนหรือเข้มกว่าสีผิวปกติของผู้ป่วยในบางราย และอาจมีลักษณะมันเหลืองเช่นกัน

สะเก็ดเงิน

เจ็บหรือคัน มักจะมีความหนาขึ้นเมื่อถูกเกาหรือขูดออก และจะมีเลือดออกไ



หนังบนหนังศีรษะตัวแผลจะเป็นสีแดงหรือชมพูและมีเกล็ดสีขาวเงิน

เป็นรอยโรคสีน้ำตาลแดงหรือม่วง โดยมีเกล็ดสีขาวหรือสีเทาทับอยู่บนรอย

เช็กเลย! เป็นโรคเซ็บเดิร์ม หรือผิวแพ้สารอะไรมา

ลักษณะของผื่นแพ้สารจะมีลักษณะเป็นผื่นแดงที่มีรอยนูน หรือมีการอักเสบแบบแพ้สัมผัส โดยอาจมีลักษณะเป็นผื่นแห้ง หรือเป็นปื้น ๆ ที่มีอาการคัน ซึ่งจะมีลักษณะอาการต่างจากโรคเซ็บเดิร์มซึ่งมักจะเป็นสีชมพูอมเหลือง มีลักษณะเป็นแผ่นมัน หรือเห็นรอยแดงร่วมกับการลอกของผิวหนัง

คนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดเซ็บเดิร์ม

เซ็บเดิร์มเป็นโรคที่สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็กทารกและวัยกลางคนอายุ 30-60 ปี นอกเหนือจากนั้นเซ็บเดิร์มเองก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นสูงในคนที่พักผ่อนน้อย ภูมิคุ้มกันร่างกายตก ทำให้ร่างกายอ่อนแอไม่สามารถควบคุมปริมาณยีสต์ Malassezia ได้ และก่อให้เกิดการอักเสบของผิวหนังในที่สุด

การป้องกันโรคเซ็บเดิร์ม

การป้องกันและวิธีหลีกเลี่ยงการเกิดเซ็บเดิร์มสามารถทำได้ด้วยตนเอง ซึ่งหลัก ๆ คือการรักษาสุขภาพและสุขอนามัยที่ดีนั่นเอง

  • ทำความสะอาดผิวหน้าและกายอย่างเป็นประจำ: ล้างหน้าและอาบน้ำวันละสองครั้ง เช้า-เย็น เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกและความมันบนผิวหนัง
  • กำจัดขนในบริเวณต่าง ๆ เท่าที่จำเป็น: กำจัดบริเวณหนวด เครา และรักแร้ หรือบริเวณที่มีขนหนา เพื่อป้องกันการอักเสบของผิวหนัง
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและเส้นผมที่ไม่มีแอลกอฮอล์: เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์มีส่วนทำให้ผิวแพ้ง่ายและเกิดการอักเสบได้ง่าย
  • ป้องกันผิวจากสภาพอากาศหนาวเย็นและแห้งมากเกินไป: เพื่อป้องกันการระคายเคืองของผิวและทำให้ผิวบอบบางลง เนื่องจากผิวแห้งเป็นสาเหตุของผิวไม่แข็งแรงและเกิดโรคผิวหนังอื่น ๆ ได้
  • พักผ่อนให้เพียงพอ: เนื่องจากโรคเซ็บเดิร์มสามารถเกิดขึ้นได้ในคนที่พักผ่อนน้อยและภูมิคุ้มกันตก การรักษาร่างกายและภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงอยู่เสมอจึงช่วยป้องกันเซ็บเดิร์มได้ดี

หมอขอตอบ! เซ็บเดิร์มรักษาอย่างไรให้หาย?

วิธีการรักษาโรคเซ็บเดิร์มนั้น หลัก ๆ คือการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่อ่อนโยนและมีสรรพคุณในการจัดการเชื้อยีสต์ Malazzeria ได้ โดยสามาถใช้ได้หลายผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและบริเวณที่ต้องการจะรักษา

เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและหนังศีรษะที่มีส่วนประกอบ 

  • Ketoconazole Shampoo 2%: ใช้เพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อยีสต์
  • Coal Tar Shampoo: ช่วยลดการอักเสบและสะเก็ดผิวหนังได้
  • Selenium Sulfide Shampoo: ช่วยลดการเจริญเติบโตของเชื้อยีสต์และทำให้ความสะอาดหนังศีรษะได้อย่างดี

เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีสรรพคุณ 

  • ครีมที่มีสารต้านเชื้อรา เช่น Ketoconazole, Clotrimazole, หรือ Miconazole

  • สเตียรอยด์ชนิดอ่อน เช่น Hydrocortisone ช่วยลดการอักเสบและคันบริเวณผื่น

ทานยาเพื่อฆ่าเชื้อยีสต์ร่วมด้วย

  • เลือกตัวยาที่ช่วยลดความรุนแรงของเซ็บเดิร์ม เช่น Itraconazole หรือ Fluconazole ตามคำแนะนำของแพทย์

นอกจากนี้ผู้ที่เป็นเซ็บเดิร์มควรเลือกใช้สบู่ทำความสะอาดผิวที่มีความอ่อนโยน ทามอยส์เจอไรเซอร์เป็นประจำเพื่อรักษาความชุ่มชื้นและลดอาการผิวแห้ง แต่ต้องบอกก่อนว่าการรักษาโรคเซ็บเดิร์มนั้นต้องอาศัยความสม่ำเสมอในการทายาและดูแลผิวพรรณอย่างอ่อนโยนจึงจะเห็นผลลัพธ์ ทั้งนี้ทั้งนั้น หากมีอาการที่รุนแรงหรือควบคุมได้ยาก แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ผิวหนังโดยตรง

FAQ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเซ็บเดิร์ม

Q : เซ็บเดิร์มที่หนังศีรษะ ทำให้มีอาการผมร่วงผมบางได้หรือไม่?

A : เซ็บเดิร์มที่หนังศีรษะสามารถทำให้เกิดอาการผมร่วงได้ เนื่องจากการอักเสบและระคายเคืองที่เกิดขึ้นส่งผลต่อรากผม ทำให้ผมหลุดร่วงง่ายกว่าปกติ แต่ข่าวดีคือหลังจากรักษาอาการเซ็บเดิร์มจนหายขาดแล้ว อาการผมร่วงและผมบางจะดีขึ้นและกลับสู่สภาพปกติได้ค่ะ

Q : เซ็บเดิร์ม เป็นโรคผิวหนังที่ติดต่อกันได้หรือไม่?

A : เซ็บเดิร์มไม่สามารถติดต่อกันได้ 

Q : เซ็บเดิร์ม รักษาให้หายขาดได้หรือไม่?

A : หากคุณเป็นเซ็บเดิร์มแล้วอาจจะรักษาให้หายขาดได้ยาก เนื่องจากเป็นโรคที่มีสาเหตุจากภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วย หากคุณพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนน้อย มีความเครียด ก็จะทำให้ภูมิตกและกลับมาเป็นเซ็บเดิร์มได้อีก

Q : เซ็บเดิร์มที่หนังศรีษะ ผมร่วงเป็นหย่อม เส้นผมจะกลับมาขึ้นหรือไม่?

A : เส้นผมจะขึ้นกลับมาเหมือนเดิมค่ะ หลังจากที่รักษาอาการเซ็บเดิร์มหายดีเรียบร้อย ผมก็จะขึ้นตามปกติ

Q : รักษาเซ็บเดิร์มด้วยตนเองได้หรือไม่?

A : เซ็บเดิร์มเป็นอาการเรื้อรังที่รักษาด้วยตนเองได้ยาก แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกวิธีค่ะ เพื่อการรักษาที่เห็นผลและไม่ยืดเยื้อ

Q : หากคุณเป็นเซ็บเดิร์ม เมื่อไหร่ควรมาพบแพทย์ 

A : สามารถพบแพทย์ได้ตั้งแต่ระดับเบา ๆ เลยค่ะ เพื่อป้องกันไม่ให้ผื่นเซ็บเดิร์มลุกลามไปยังบริเวณอื่น ๆ บนร่างกาย แพทย์จะมียารักษาอาการที่เหมาะสมให้คนไข้

The one clinic คลินิกเฉพาะทางด้านโรคผิวหนัง วิเคราะห์สาเหตุ และ รักษาอย่างตรงจุด

The One Clinic คลินิกผิวหนังย่านห้วยขวางที่มีแพทย์ผู้ชำนาญด้านโรคผิวหนังตรวจวินิจฉัยทุกเคส พร้อมออกแบบการรักษาแบบเฉพาะบุคคล (Personalized Program) เพื่อรักษาลงลึกถึงต้นตอและเห็นผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ สำหรับผู้ที่มีปัญหาผิวทุกประเภท อาทิ เซ็บเดิร์ม ผื่นแพ้ สิว ฝ้า กระ รอยแดง รอยดำ รวมทั้งโรคผิวหนังต่าง ๆ สามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์ที่คลินิกได้ทุกวัน เราพร้อมรักษาด้วยความจริงใจ

บทความที่คล้ายกัน

เซ็บเดิร์ม

เซ็บเดิร์ม คืออะไร? เซ็บเดิร์มที่หน้าและศีรษะ รักษาให้หายได้ไหม?

เซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) คืออะไร? รู้วิธีรักษาและควบคุมอาการผื่นแดงคันจากเซ็บเดิร์มที่หน้าและศีรษะ พร้อมวิธีป้องกันในการดูแลผิวจาก The One Clinic

สิวอุดตัน

สิวอุดตันเต็มหน้า! เกิดจากสาเหตุอะไร? ป้องกันและรักษาอย่างไรให้หายขาด?

สิวอุดตันขึ้นเต็มหน้าเสียความมั่นใจ? รู้จักกับสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดสิวอุดตัน พร้อมวิธีดูแลผิวอย่างถูกวิธีกับ The One Clinic เพื่อผิวหน้าที่กลับมาเรียบเนียนอีกครั้ง

สิวที่หน้าผาก

สิวที่หน้าผาก เกิดจากอะไร รู้สาเหตุ พร้อมวิธีป้องกันและรักษาไม่ให้เกิดซ้ำ

สิวขึ้นที่หน้าผากอาจเกิดจากฮอร์โมน ความมันบนผิว หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสม รู้สาเหตุ พร้อมวิธีป้องกันและรักษาสิวไม่ให้เกิดซ้ำ เพื่อผิวหน้าที่เรียบเนียนและสุขภาพดี