เช็กด่วน! สิวฮอร์โมนในผู้ชาย ผู้หญิง ไม่หายสักที เกิดจากอะไร รักษาตรงจุดหายขาดได้

ฮอร์โมนสิวเป็นปัญหาผิวที่พบบ่อยในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในช่วงที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน บทความนี้จะอธิบายถึงสาเหตุของการเกิดสิวฮอร์โมน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นสิวฮอร์โมน และวิธีการรักษาสิวฮอร์โมนให้หายขาด เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจและสามารถจัดการกับปัญหาสิวที่เกิดจากฮอร์โมนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุป สิวฮอร์โมนไม่หายสักที เกิดจากอะไร ทั้งในผู้ชาย และผู้หญิง
  • สิวฮอร์โมนเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้มีการผลิตน้ำมันมากเกินไป นำไปสู่การอุดตันและเกิดสิว พบได้ในทุกเพศทุกวัย
  • สิวฮอร์โมนมีลักษณะเป็นสิวอุดตันและสิวอักเสบ มักเกิดบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่น ใบหน้า คาง ลำคอ
  • ความเครียดและพันธุกรรมเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสิวฮอร์โมน ร่วมกับการรับประทานอาหารไขมันสูง การใช้ผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะสม และสัมผัสมลภาวะ
  • ฮอร์โมนเพศมีผลโดยตรงต่อการเกิดสิว โดยเฉพาะในช่วงรอบเดือนของผู้หญิง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน Progesterone, Estrogen และ Testosterone
  • สิวฮอร์โมนต่างจากสิวทั่วไป โดยเกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนเป็นหลัก พบบ่อยในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ มีลักษณะเป็นสิวอักเสบมากกว่าสิวอุดตัน
  • การรักษาสิวฮอร์โมนต้องควบคุมระดับฮอร์โมน ใช้ยาปฏิชีวนะ ยาต้านแอนโดรเจน ยาคุมกำเนิด ร่วมกับการดูแลผิวและปรับไลฟ์สไตล์ที่เหมาะสม
  • การรักษาสิวฮอร์โมนด้วยตัวเองทำได้โดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน รักษาความสะอาดผิว ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ดีขึ้น เช่น ดื่มน้ำ นอนหลับพักผ่อน และทานผักผลไม้เพียงพอ

สารบัญ

ไขข้อข้องใจ ‘สิวฮอร์โมน’ คืออะไร?

สิวฮอร์โมน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ส่วนมากจะพบในวัยรุ่น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ (Androgen เช่น Testosterone, DHT, Oestrogen) ซึ่งฮอร์โมนนี้จะเป็นตัวกระตุ้นการผลิตน้ำมันในต่อมไขมันบริเวณผิวหนัง นำไปสู่ผิวมันและเกิดการอุดตัน 

จริงๆ แล้ว สิวฮอร์โมนไม่ได้จำกัดอยู่ในช่วงวัยรุ่นเท่านั้น มีโอกาสพบเจอได้ทุกวัย และมีความเกี่ยวข้องกับระดับฮอร์โมนภายในร่างกาย เช่น ประจำเดือน (Menopause) ที่มาไม่ปกติ  ความเครียด รวมทั้งพฤติกรรมบางอย่างก็ส่งผลให้เกิดสิวฮอร์โมนได้

สิวฮอร์โมนมีลักษณะอย่างไร?

สิวฮอร์โมนมักพบในบริเวณที่มีต่อมหรือต่อมไขมันมาก เช่น ในบริเวณใกล้ปากหรือคาง การดูแลและควบคุมระดับฮอร์โมน รวมถึงการดูแลผิวหนังและลดปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด จะช่วยลดโอกาสในการเกิดสิวฮอร์โมนได้ ลักษณะของสิวฮอร์โมนจะอยู่กับความรุนแรงของสิว ซึ่งสามารถแบ่งเป็นสิวอุดตันและสิวอักเสบ

1. สิวอุดตัน (Comedones)

ประกอบไปด้วยสิวหัวดำ (Blackheads) และ สิวหัวขาว (Whiteheads) ที่เกิดจากการอุดตันของต่อมไขมันและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว โดยสิวหัวขาวจะต่างจากสิวหัวดำตรงที่สิวหัวดำมีการเกิดปฏิกิริยา Oxidise กับอากาศแล้วเปลี่ยนเป็นสีดำ การดูแลผิวหน้าด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมเป็นกรด Salicylic acid หรือ Acetic acid ช่วยลดสิวอุดตันได้

2. สิวอักเสบ (Inflammatory Acne)

เรียกว่าเป็นสิวที่มีการอักเสบของร่างกาย (Immune response) มีลักษณะเป็นสิวแดง และสิวที่มีน้ำหล่อเลี้ยงภายใน เช่น สิวหัวขาว (Pustules) สิวหัวดำ (Papules) และสิวหัวขาว (Nodules) โดยจะมีอาการบวม ปวด และร้อนๆ ที่รอยสิว การรักษาสิวอักเสบมักใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมต้านการอักเสบ และอาจจะต้องพบแพทย์เพื่อรักษาอาการอักเสบอย่างถูกวิธี

สิวฮอร์โมน มีสาเหตุเกิดจากอะไร?

สิวฮอร์โมนเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศชายอย่างเทสโทสเตอโรน ซึ่งกระตุ้นการผลิตน้ำมันบนผิวหนังมากเกินไป ทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนและนำไปสู่การเกิดสิว สิวฮอร์โมนเป็นแบบไหนบ้าง มักจะเป็นหัวหนองขนาดใหญ่ เจ็บ และมักทิ้งรอยดำรอยแดงไว้หลังจากสิวยุบแล้ว นอกจากนี้ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้นในช่วงรอบเดือนของผู้หญิงยังส่งผลให้รูขุมขนขยายตัว จึงเพิ่มโอกาสในการเป็นสิวฮอร์โมนมากกว่าปกติ สิวฮอร์โมนจึงพบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าเพศชาย

ปัจจัยทางพันธุกรรม

พันธุกรรมมีบทบาทสำคัญในการกำหนดแนวโน้มการเกิดสิวฮอร์โมน หากบุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นสิวง่ายหรือเป็นสิวรุนแรง สมาชิกคนอื่นๆ ก็มีโอกาสสูงที่จะเป็นสิวฮอร์โมนเช่นกัน การเข้าใจประวัติครอบครัวจะช่วยในการวางแผนป้องกันและวิธีรักษาสิวฮอร์โมนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การรักษาสิวฮอร์โมนให้หายขาดอาจต้องคำนึงถึงปัจจัยทางพันธุกรรมร่วมด้วย

สภาวะจิตใจและความเครียด

สภาวะทางจิตใจ โดยเฉพาะความเครียดและความวิตกกังวล มีผลกระทบโดยตรงต่อการเกิดสิวฮอร์โมน ความเครียดส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้น ซึ่งกระตุ้นการผลิตน้ำมันบนผิวหนังและเพิ่มการอักเสบ นำไปสู่การเกิดสิวฮอร์โมนที่รุนแรงขึ้น วิธีรักษาสิวฮอร์โมนจึงควรรวมถึงการจัดการความเครียดและดูแลสุขภาพจิตเพื่อลดการผลิตฮอร์โมนสิวควบคู่กันไป

ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมรอบตัวมีอิทธิพลต่อการเกิดสิวฮอร์โมนอย่างมีนัยสำคัญ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ไม่เหมาะสม และการสัมผัสมลภาวะต่างๆ ล้วนเป็นปัจจัยที่กระตุ้นการเกิดสิวฮอร์โมน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการดูแลผิวให้เหมาะสมจึงเป็นส่วนสำคัญในการรักษาสิวฮอร์โมนให้หายขาด และป้องกันการเกิดสิวซ้ำในอนาคต

ฮอร์โมน กับ สิว มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร?

ฮอร์โมนเพศมีความเกี่ยวข้องกับสิวในช่วงรอบเดือน ทั้งก่อนหรือระหว่างรอบประจำเดือน ซึ่งระดับฮอร์โมนเพศหญิงเช่น Progesterone และ Oestrogen มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ

1. ฮอร์โมนเพศ

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิงสามารถทำให้การผลิตน้ำมันในต่อมไขมันเกิดความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดสิวฮอร์โมน

  • โปรเจสเทอร์อน (Progesterone) ในช่วงก่อนรอบประจำเดือน โปรเจสเทอร์อนมีการเพิ่มขึ้น ทำให้ความหนาของน้ำมันในผิวหนังเพิ่มสูง และเพิ่มโอกาสในการเกิดสิว
  • เอสโตรเจน (Estrogen) ระดับอีสโตรเจนลดลงก่อนรอบเดือน ทำให้การผลิตน้ำมันในต่อมไขมันและเส้นผมมากขึ้น
  • เทสโทสเธอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนเพศชายที่เป็นสาเหตุของการเกิดสิว โดยเทสโทสเธอโรน เป็นปัจจัยของการแปลงแปลงฮอร์โมนนี้เป็น DHT (Dihydrotestosterone) ทำให้เกิดสิวโดยเอนไซม์ 5-อัลฟา-เรดักตัส (5-alpha-reductase)  ซึ่ง DHT เป็นฮอร์โมนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเทสโทสเธอโรนในการกระตุ้นต่อมไขมันในผิวหนัง ซึ่งทำให้ผิวอุดตันได้ง่ายกว่า

2. น้ำมันที่เพิ่มขึ้นและเซลล์ผิวที่ตาย

ผิวบริเวณนั้นเกิดการอุดตันของฝุ่น แบคทีเรียที่ และสิ่งสกปรก ทำให้เกิดสิว โดยสิวฮอร์โมนมีโอกาสที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ได้ในบริเวณเดิม นอกจากนี้ ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงทั่วไป ความเครียด และภาพรวมของสุขภาพก็มีผลต่อการเกิดสิวฮอร์โมนด้วย การดูแลผิวหน้าอย่างเหมาะสมและการรักษาสุขภาพทั่วไปสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดสิวได้ 

ในกรณีของผู้หญิงอาจมีอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome or PCOS) ซึ่งกระตุ้นให้ร่างกายผลิตเทสโทสเธอโรนมากขึ้น ก่อให้เกิดการอุดตันในต่อมไขมันและทำให้มีอาการสิวเรื้อรังได้

ความแตกต่างของสิวทั่วไปกับสิวฮอร์โมน

สิวทั่วไป กับ สิวฮอร์โมนต่างกันอย่างไร

สิวฮอร์โมนมักพบในบริเวณที่มีต่อมหรือต่อมไขมันมาก เช่น ในบริเวณใกล้ปากหรือคาง การดูแลและควบคุมระดับฮอร์โมน รวมถึงการดูแลผิวหนังและลดปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด จะช่วยลดโอกาสในการเกิดสิวฮอร์โมนได้ ลักษณะของสิวฮอร์โมนจะอยู่กับความรุนแรงของสิว ซึ่งสามารถแบ่งเป็นสิวอุดตันและสิวอักเสบ

ข้อสังเกต

สิวทั่วไป

สิวฮอร์โมน

สาเหตุหลัก

- มีน้ำมันบนหน้ามากเกินไป 

- แบคทีเรียชนิดไม่ดีสะสม

- เซลล์ผิวที่ตายแล้วผลัดออกไม่ทัน (Keratinized cells)

- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ เช่น Testosterone, Oestrogen, Progesterone หรือ Insulin รวมทั้งอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)

ช่วงอายุที่พบบ่อย

ส่วนมากพบในวัยรุ่น แต่สามารถพบได้ทุกช่วงวัย

วัยรุ่นช่วง Puberty และยังพบได้แม้เข้าสู่วัยผู้ใหญ่

บริเวณที่พบบ่อย

ใบหน้า ลำคอ หน้าอก หลัง ไหล่

หน้าช่วงคาง สันกราม ลำคอ หน้าอก หลัง

ชนิดของสิว

สิวหัวดำ สิวหัวขาว สิวตุ่มน้ำ สิวเนื้อ

สิวหนอง สิว Nodules สิวหัวดำ

วิธีการดูแลผิวพรรณ

- เปลี่ยนไลฟ์สไตล์ หมั่นทำความใบหน้าและร่างกายให้สะอาด โดยใช้เวชภัณฑ์แบบทา หรือ ใช้ Antibiotics 

- ทามอยเจอไรเซอร์เป็นประจำเพื่อรักษาความชุ่มชื้นและสร้างเกราะป้องกันให้ผิวแข็งแรง

- รักษาระดับฮอร์โมน ลดการทานอาหารรสจัด หวานหรือมัน 

- รักษาความชุ่มชื้นของผิวอยู่เสมอ

- ทานยาคุมฮอร์โมนภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

สิวฮอร์โมนรักษาอย่างไร?

การรักษาสิวฮอร์โมนมีหลายรูปแบบ ทั้งปัจจัยเรื่องเพศสภาพ ปริมาณฮอร์โมนในผู้ชายและผู้หญิงที่ต่างกัน ซึ่งปัจจุบันก็มีวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพหลายตัวเลือก

  1. การรักษาสำหรับผู้ชาย สามารถใช้ Antibiotics ชนิด Doxycycline หรือ Minocycline ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เพื่อลดการติดเชื้อ ในเคสที่อาการหนักก็จะเพิ่มการรักษาด้วย Isotretinoin ควบคู่กันไป
  2. การรักษาสำหรับผู้หญิง สามารถใช้ Anti-androgen เช่น Spironolactone ที่มีคุณสมบัติในการบล็อก Androgen และลดการเกิดไขมันอุดตันบนผิวหนัง นอกจากนี้ ยาคุมกำเนิดก็ได้รับความนิยมในการทานเพื่อรักษาสิวฮอร์โมนได้เช่นกัน
  3. การรักษาทั่วไป ที่ใช้ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง คือ ยารักษาสิวเรตินอยด์แบบทา (Topical retinoid) และ เบนโซลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl peroxide) ส่วนในกรณีที่มีสิวเรื้อรัง หรือ มีความรุนแรงขนาดปานกลางขึ้นไปสามารถใช้ IPL (Acne Clear Laser) หรือ Monopolar RF ในการรักษาสิวฮอร์โมนได้

วิธีรักษาสิวฮอร์โมนด้วยตัวเอง

  1. การรักษาสิวฮอร์โมนมักจะเน้นการดูแลผิวหน้า ใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิวหน้า และป้องกันการอุดตันของต่อมไขมัน เพื่อลดการเกิดสิวและบรรเทาอาการ 
  2. รักษาความสะอาดของผิวหนัง เพื่อลดโอกาสอักเสบหรือป้องกันสิ่งสกปรกอุดตันรูขุมขน
  3. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสริมสร้างสุขภาพที่ดี ดื่มน้ำให้เพียงพอวันละ 6-8 แก้ว พักผ่อนให้ครบ 6-8 ชั่วโมง รวมทั้งทานผักและผลไม้มากขึ้น เพื่อให้ร่างกายขับของเสียและได้รับการฟื้นฟูจากภายใน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสิวฮอร์โมน

Q : จะรู้ได้ยังไงว่าเป็นสิวฮอร์โมน?

A : สิวฮอร์โมนมักขึ้นบริเวณแนวกราม คาง รอบปาก และ T zone ซึ่งมีต่อมไขมันตอบสนองต่อฮอร์โมน androgen สูง เป็นสาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ก่อนมีประจำเดือน หรือโรคเกี่ยวกับฮอร์โมน

Q : ทํายังไงให้สิวฮอร์โมนหาย?

A : การรักษาสิวฮอร์โมนให้หายขาดเป็นเรื่องยาก เพราะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย แต่เราสามารถควบคุมและลดสิวให้น้อยลงได้ด้วยการใช้ยาคุมกำเนิดสำหรับผู้หญิง การทานยาและทายาลดการทำงานของต่อมไขมันเช่น Isotretinoin เป็นต้น

Q : สิวฮอร์โมนจะหายไปตอนไหน?

A : โดยทั่วไป สิวฮอร์โมนอาจหายไปเองได้เมื่อฮอร์โมนในร่างกายสมดุลขึ้น เช่น หลังช่วงมีประจำเดือน และเมื่ออายุมากขึ้น ฮอร์โมน androgen มักลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ทำให้สิวฮอร์โมนลดลงตามไปด้วย

Q : สิวฮอร์โมนควรกดไหม?

A : ไม่ควรกดสิวฮอร์โมนเอง เพราะอาจอักเสบหนักขึ้น เป็นแผลเป็น และติดเชื้อ 

จบปัญหาสิวฮอร์โมน วางใจ The One Clinic

ไม่ว่าจะเป็นสิวฮอร์โมน หรือปัญหาผิวพรรณเรื่องไหน อาทิ สิว รอยสิว ฝ้า กระ ติ่งเนื้อ หรือต่อมไขมันนูน ก็สามารถขอคำปรึกษาและรักษากับคุณหมอหนึ่ง แพทย์เฉพาะทางที่ The One Clinic ได้เลย คุณหมอหนึ่งประเมินเคสเอง หาวิธีการรักษาที่ปลอดภัย เห็นผล และมีคำแนะนำให้อีกด้วย ถ้าใครกำลังมองหาคลินิกรักษาโรคผิวหนังย่านห้วยขวาง  ลองเข้ามาสอบถามข้อมูลและโปรโมชั่นกันก่อนได้เลย เจ้าหน้าที่ของเราพร้อมให้บริการทุกวัน

รักษาสิวด้วยเลเซอร์ 12 ขั้นตอน ที่ The One Clinic

บทความที่คล้ายกัน

สิวที่ปาก

สิวที่ปาก ขึ้นรอบปาก มุมปาก รู้ลึกถึงสาเหตุและวิธีรักษาให้ได้ผล

สิวที่ปากและมุมปากเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ รู้จักวิธีรักษาที่ได้ผลและปลอดภัย พร้อมเคล็ดลับการดูแลผิวให้ห่างไกลจากสิวบริเวณรอบปากไม่ให้เกิดซ้ำ

ผมบาง

ผมบางก็กลับมาหนาได้! รู้สาเหตุ วิธีป้องกันและรักษาให้ตรงจุด บอกลาปัญหาผมขาดร่วง

บอกลาปัญหาผมบาง! เพียงรู้สาเหตุของผมบางและผมร่วง พร้อมวิธีป้องกันและวิธีรักษาอย่างตรงจุด เพื่อฟื้นฟูเส้นผมให้กลับมาหนา แข็งแรง หมดปัญหาผมขาดหลุดร่วง

สิวที่คอ

สิวที่คอเป็นซ้ำ ๆ ซาก ๆ เกิดจากอะไร? ควรดูแลและรักษาอย่างไรให้หาย

สิวที่คอเกิดจากอะไร? รู้สาเหตุที่ทำให้สิวที่คอเป็นซ้ำ ๆ พร้อมคำแนะนำวิธีการดูแลและรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อให้ผิวกลับมาเนียนใสไร้สิวไม่เกิดซ้ำ