ปัญหาผมร่วง ผมบาง และหัวล้าน เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของหลายคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง สาเหตุของผมร่วงมีหลายประการ เช่น พันธุกรรม ฮอร์โมน ความเครียด หรือการขาดสารอาหารที่จำเป็น ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง อาจทำให้เส้นผมบางลงและเสี่ยงต่อภาวะหัวล้านได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีวิธีแก้ผมร่วงที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการดูแลสุขภาพภายใน การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผม หรือการรักษาด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ The One Clinic จะมาแนะนำวิธีการต่าง ๆ เพื่อช่วยให้คุณกลับมามีผมที่หนาขึ้นและสุขภาพดีอีกครั้ง
- ปัญหาผมร่วง ผมบาง และหัวล้าน เกิดจากปัจจัยภายใน เช่น พันธุกรรม ฮอร์โมน โรคภัย หรือขาดสารอาหาร รวมถึงปัจจัยภายนอก เช่น สารเคมี มลภาวะ และความเครียด โดยผมร่วงแบ่งเป็นหลายประเภท เช่น ผมร่วงจากกรรมพันธุ์ ผมร่วงเป็นหย่อม หรือผมร่วงทั่วศีรษะ ซึ่งต้องการการดูแลที่ต่างกัน
- วิธีป้องกันผมร่วง เริ่มจากการรักษาความสะอาด หลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำร้ายเส้นผม ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ลดความเครียด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ
- การรักษาผมร่วง อาจใช้ยาทา Minoxidil ยารับประทาน Finasteride การฉีด PRP การใช้เลเซอร์ LLLT หรือการปลูกผม ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหา
- The One Clinic ให้บริการรักษาผมร่วงแบบครบวงจร ด้วยโปรแกรม Hair Multiplex ที่ผสานการฉีดยา เลเซอร์ และการบำรุงเส้นผมโดยแพทย์เฉพาะทาง หากผมร่วงผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ทันที ติดต่อ Line: @theoneclinic หรือโทร. 093-5830921
สารบัญ
รู้สาเหตุ ทำไมผมถึงร่วง?
เรียกได้ว่าเป็นคำถามยอดฮิต และผมร่วงหรือ ผมร่วงเป็นหย่อม ยังเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย โดยทั่วไปแล้ว เส้นผมของคนเราจะร่วงประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน ถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากผมร่วงมากกว่านี้ หรือมีอาการผมบางร่วมด้วย ก็ควรเริ่มหาสาเหตุและวิธีการดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ
ปัจจัยภายในร่างกาย
- พันธุกรรม: เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด โดยเฉพาะในผู้ชาย มักเกิดจากฮอร์โมน DHT (Dihydrotestosterone) ที่ทำให้วงจรชีวิตของเส้นผมสั้นลง ทำให้ผมมีขนาดเล็กลง บางลง และหลุดร่วงในที่สุด ส่วนในผู้หญิงจะมีลักษณะผมบางทั่วศีรษะ
- ฮอร์โมน: การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ช่วงตั้งครรภ์ หลังคลอด วัยหมดประจำเดือน หรือภาวะไทรอยด์ผิดปกติ ล้วนส่งผลต่อการเจริญเติบโตและความแข็งแรงของเส้นผม ทำให้ผมร่วงได้
- โรคภัยไข้เจ็บ: โรคบางชนิด เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคผิวหนัง โรคโลหิตจาง และเชื้อราบนหนังศีรษะ อาจทำให้ผมร่วงได้
- ภาวะโภชนาการ: การขาดสารอาหาร เช่น ธาตุเหล็ก โปรตีน สังกะสี วิตามินบี และวิตามินดี ล้วนส่งผลต่อสุขภาพเส้นผม ทำให้ผมร่วงได้ง่าย
- อายุ: เมื่ออายุมากขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานของส่วนต่าง ๆ ในร่างกายจะลดลง รวมถึงการสร้างเส้นผม ทำให้ผมร่วงและบางลง
ปัจจัยภายนอกร่างกาย
- การดูแลเส้นผม:
- การใช้สารเคมีกับเส้นผมบ่อย ๆ เช่น การย้อมผม การดัดผม
- การใช้ความร้อนกับเส้นผมมากเกินไป เช่น การไดร์ผม การหนีบผม
- การมัดผมแน่นเกินไป หรือการหวีผมแรง ๆ ทำให้รากผมอ่อนแอลง
- การสระผมบ่อยเกินไป หรือใช้น้ำอุ่นจัดในการสระผม
- สภาพแวดล้อม:
- มลภาวะ ฝุ่นละออง ควันพิษ
- แสงแดด รังสียูวี
- สภาพอากาศร้อนจัดหรือหนาวจัด ทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน
- ยาและสารเคมี:
- ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัด ยารักษาโรคซึมเศร้า ยาคุมกำเนิด
- การสัมผัสกับสารเคมี เช่น สารหนู ยาฆ่าแมลง
- ความเครียด: ความเครียด วิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า
The One Clinic แชร์วิธีการรักษาผมร่วง
การรักษาผมร่วงมีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุ ความรุนแรง และสภาพเส้นผมของแต่ละบุคคล แพทย์จะทำการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของผมร่วงและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งอาจประกอบด้วย:
การใช้ยา
- ยาทา: มียาทาหลายชนิด เช่น Minoxidil ซึ่งช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผม และ Finasteride ซึ่งช่วยยับยั้งการทำงานของฮอร์โมน DHT ที่เป็นสาเหตุของผมร่วง
- ยารับประทาน: เช่น Finasteride, Spironolactone และยาคุมกำเนิด ซึ่งช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนและลดการหลุดร่วงของเส้นผม
- การฉีดยา: เช่น การฉีดสเตียรอยด์เข้าสู่หนังศีรษะเพื่อลดการอักเสบ หรือ Platelet-Rich Plasma (PRP) เพื่อกระตุ้นการงอกของเส้นผม
- การผ่าตัดปลูกผม : การปลูกผม: เป็นการนำรากผมจากบริเวณท้ายทอยมาปลูกในบริเวณที่ผมบาง เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วงจากพันธุกรรม หรือมีแผลเป็นบนหนังศีรษะ
การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ
- เลเซอร์: การใช้เลเซอร์กำลังต่ำ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและการงอกของเส้นผม
- การนวดหนังศีรษะ: ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและผ่อนคลายความตึงเครียด สามารถใช้สารบำรุงร่วมด้วยได้
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- การลดความเครียด: ฝึกการผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิ การฝึกโยคะ หรือการออกกำลังกาย
- การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์: เน้นอาหารที่มีโปรตีน ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินบี และวิตามินดี
- การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ: ควรนอนหลับอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน
- การดูแลเส้นผมอย่างถูกวิธี: หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกับเส้นผมบ่อยๆ ไม่มัดผมแน่นเกินไป ไม่หวีผมแรง ๆ ใช้ความร้อนกับเส้นผมให้น้อยที่สุด และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่อ่อนโยนและเหมาะสมกับสภาพเส้นผม
คำแนะนำเพิ่มเติม
การรักษาผมร่วงต้องใช้เวลาและความอดทน ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ในกรณีที่รักษาเร็วที่สุด มักเห็นผลภายใน 5-6 เดือน การปลูกผมให้ผลลัพธ์เร็ว แต่มีราคาสูงและไม่เหมาะกับทุกคน การรักษาที่ต้นเหตุสำคัญกว่า เพราะหากไม่แก้ไข ผมจะร่วงซ้ำ เช่น ผมร่วงเป็นหย่อมควรได้รับการฉีดยาลดการทำลายรากผมจากเม็ดเลือดขาว ผมร่วงจากพันธุกรรมควรร่วมกับการใช้ยา ผมร่วงจากไทรอยด์ควรรักษาต้นเหตุของโรค และผมร่วงจากการขาดสารอาหารควรรับประทานอาหารบำรุง ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
ตอบข้อสงสัย! ผมร่วงมากเท่าไหร่ถึงเริ่มผิดปกติ?
โดยทั่วไปแล้ว คนเราจะผมร่วงประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน และ 150-200 เส้นต่อวันในวันที่สระผม ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่หากคุณสังเกตเห็นว่าผมร่วงมากกว่านี้ หรือมีอาการผมบางร่วมด้วย ก็อาจเป็นสัญญาณของปัญหาผมร่วงที่ผิดปกติ ควรสังเกตตัวเองและปรึกษาแพทย์ที่มีความชำนาญเรื่องเส้นผม
วิธีสังเกตว่าผมร่วงมากผิดปกติ
- จำนวนเส้นผมที่ร่วง: พบว่า ผมร่วงติดมือเป็นกระจุก ผมร่วงเต็มพื้น หรือผมร่วงเยอะกว่าปกติเวลาสระผม
- ลักษณะการร่วง: ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ ผมร่วงทั่วศีรษะ หรือผมบางลงอย่างเห็นได้ชัด
- ระยะเวลา: ผมร่วงต่อเนื่องเป็นเวลานาน หลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน
- อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย: เช่น คันหนังศีรษะ หนังศีรษะลอก เป็นแผล
ปัจจัยที่ส่งผลต่อจำนวนเส้นผมที่ร่วง
- ความยาวของเส้นผม: คนที่มีผมยาว อาจดูเหมือนผมร่วงเยอะกว่าคนผมสั้น แม้จำนวนเส้นผมที่ร่วงจะเท่ากัน
- สีผม: คนผมสีเข้ม อาจดูเหมือนผมร่วงชัดเจนกว่าคนผมสีอ่อน
- ช่วงเวลา: ในบางช่วงเวลา เช่น หลังคลอดบุตร หลังจากมีอาการป่วยรุนแรง คนเราอาจผมร่วงมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นภาวะชั่วคราวที่จะกลับมาดีขึ้นเองได้
ปรึกษาแพทย์ให้ชัวร์ หากคุณกำลังสงสัยว่าผมร่วงผิดปกติหรือไม่?
แนะนำ 10 วิธีแก้ปัญหาผมร่วงด้วยวิธีธรรมชาติ
ผมร่วงเป็นปัญหาที่หลายคนกังวล แต่อาจมีวิธีฟื้นฟูสุขภาพเส้นผมด้วยวิธีธรรมชาติก่อนที่จะเลือกการรักษาทางการแพทย์ ลองสำรวจ 10 วิธีที่อาจช่วยลดปัญหาผมร่วงได้:
- นวดหนังศีรษะด้วยน้ำมัน
การนวดหนังศีรษะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดไปยังรูขุมขน ส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันอัลมอนด์ อาจเป็นตัวเลือกที่ดี ใช้นวดเบา ๆ ประมาณ 10-15 นาที ก่อนล้างออก ทำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง - หมักผมด้วยสมุนไพร
สมุนไพรบางชนิดมีสารที่อาจช่วยบำรุงรากผม เช่น ว่านหางจระเข้ มะกรูด อัญชัน และใบบัวบก โดยสามารถบด คั้นน้ำ หรือต้มแล้วนำมาหมักผม ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีก่อนล้างออก ทำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง - บริโภคอาหารบำรุงเส้นผม
เส้นผมอาจได้รับประโยชน์จากอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ไข่ ปลา เนื้อสัตว์ และถั่ว รวมถึงอาหารที่มีวิตามินบีจากผักใบเขียว ธัญพืช อาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น ตับ เนื้อแดง และอาหารที่มีสังกะสีจากอาหารทะเลและงา - ดื่มน้ำให้เพียงพอ
การดื่มน้ำช่วยให้หนังศีรษะและร่างกายชุ่มชื้น ส่งผลดีต่อสุขภาพเส้นผม แนะนำให้ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน - ลดความเครียด
ความเครียดอาจเป็นสาเหตุของผมร่วง การทำสมาธิ ฝึกโยคะ หรือฟังเพลงทำนองสบาย ๆ อาจช่วยลดความเครียดได้ - พักผ่อนให้เพียงพอ
การนอนหลับเพียงพอช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมเส้นผม ควรนอนหลับอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน - หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำร้ายเส้นผม
เช่น การมัดผมแน่นเกินไป หวีผมแรง ๆ การใช้ความร้อนกับเส้นผมบ่อย ๆ และการใช้สารเคมีบ่อยครั้ง เพื่อลดการขาด หลุด ร่วง - ใช้หวีซี่ห่าง
หวีซี่ห่างช่วยลดการดึงรั้งของเส้นผม ลดการขาดหลุดร่วงได้ - รักษาความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ
การรักษาความสะอาดช่วยป้องกันรังแคและการติดเชื้อราบนหนังศีรษะ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของผมร่วง - ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้รากผมได้รับสารอาหารเพียงพอและแข็งแรงมากขึ้น
5 วิธีแก้ผมร่วงด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์
แพทย์สมัยใหม่สามารถช่วยแก้ปัญหาผมร่วงและผมร่วงเป็นหย่อมได้อย่างไรบ้าง:
1.ยา
- Finasteride (สำหรับผมร่วงแบบ androgenetic alopecia): ช่วยยับยั้งฮอร์โมน DHT ซึ่งเป็นสาเหตุของผมร่วง มักพบในผู้ชาย มีทั้งแบบทาภายนอกและแบบรับประทาน
ข้อดี: ราคาไม่แพง หาซื้อง่าย
ข้อเสีย: แบบรับประทานอาจมีผลข้างเคียง เช่น ความต้องการทางเพศลดลง ใช้ได้เฉพาะผู้ชาย - Minoxidil (สำหรับผมร่วงทั่วไปและผมร่วงเป็นหย่อม): ช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผม ใช้ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง มีทั้งแบบทาภายนอกและแบบรับประทาน
ข้อดี: ใช้งานง่าย หาซื้อง่าย
ข้อเสีย: แบบรับประทานอาจทำให้เกิดขนขึ้นตามร่างกาย ต้องใช้เป็นประจำต่อเนื่อง - Corticosteroids (สำหรับผมร่วงเป็นหย่อม): ช่วยลดการอักเสบ มีทั้งแบบทา แบบฉีด และแบบรับประทาน
ข้อดี: ช่วยควบคุมอาการผมร่วงเป็นหย่อมได้ดี
ข้อเสีย: อาจทำให้ผิวหนังบางลงในแบบทา หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน - ยาปรับภูมิคุ้มกัน (สำหรับผมร่วงเป็นหย่อม): เช่น Methotrexate, Cyclosporine ช่วยปรับระบบภูมิคุ้มกัน
ข้อดี: อาจช่วยควบคุมอาการผมร่วงเป็นหย่อมในระยะยาว
ข้อเสีย: อาจมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์
2.การผ่าตัดปลูกผม
ข้อดีของการผ่าตัดปลูกผม:
- แก้ปัญหาได้ตรงจุด: เหมาะกับผมร่วงจากกรรมพันธุ์ ฮอร์โมน หรือแผลเป็น
- ผลลัพธ์เป็นธรรมชาติ: ผมที่ปลูกใหม่จะขึ้นอย่างกลมกลืนกับผมเดิม
- ผลลัพธ์อยู่ได้นาน: ผมที่ปลูกใหม่จะอยู่ได้ตลอดชีวิต
ข้อเสียของการผ่าตัดปลูกผม:
- ราคาสูง ขึ้นอยู่กับเทคนิค จำนวนกราฟ และสถานพยาบาล
- ใช้เวลาในการผ่าตัดและพักฟื้นหลายชั่วโมง
- อาจมีผลข้างเคียง เช่น บวม แดง เจ็บ คัน หนังศีรษะชา
- อาจมีแผลเป็นซึ่งมักจะถูกซ่อนไว้ใต้ผม
3. การใช้เลเซอร์
- Low-Level Laser Therapy (LLLT): ใช้แสงเลเซอร์พลังงานต่ำกระตุ้นเซลล์และการไหลเวียนเลือดบริเวณหนังศีรษะ ทำให้รากผมแข็งแรงและเส้นผมงอกใหม่
ข้อดี: ราคาไม่แพง ไม่เจ็บตัว ไม่มีผลข้างเคียง และมีอุปกรณ์พกพาหลากหลาย
ข้อเสีย: เห็นผลช้าต้องใช้เวลาต่อเนื่อง - Excimer Laser: ช่วยลดการอักเสบและกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม
ข้อดี: ตรงจุด รักษาได้แม่นยำ เหมาะสำหรับผมร่วงเป็นหย่อม มีผลข้างเคียงน้อย
ข้อเสีย: ราคาสูง และต้องทำซ้ำหลายครั้งเพื่อเห็นผลลัพธ์ - PRP Therapy (Platelet-Rich Plasma)
PRP หรือเกล็ดเลือดเข้มข้นของผู้ป่วยเอง มี Growth Factors ช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผม
ข้อดี: มีความปลอดภัยสูงเพราะใช้เลือดของผู้ป่วยเอง ไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรง ไม่ต้องผ่าตัด และไม่ต้องพักฟื้น
ข้อเสีย: ราคาสูงและต้องทำซ้ำหลายครั้ง ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับสภาพเส้นผมและหนังศีรษะของแต่ละคน
4. การฉีดยากระตุ้น
แพทย์จะฉีดยาเข้าสู่หนังศีรษะเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด บำรุงรากผม และยับยั้งการหลุดร่วงของเส้นผม
- กรณีผมร่วงเป็นหย่อม: ใช้ Corticosteroids เพื่อลดการอักเสบและยับยั้งเม็ดเลือดขาวไม่ให้ทำลายรากผม
ข้อดี: เป็นทางเลือกแรกในการรักษาผมร่วงเป็นหย่อม เห็นผลชัดเจน
ข้อเสีย: ต้องใช้เวลาและความต่อเนื่อง - กรณีผมร่วงและผมบางอื่น ๆ: ใช้ Minoxidil, Finasteride/Dutasteride หรือวิตามินและแร่ธาตุ เช่น Biotin, Vitamin B5 และ B12
ข้อดี: ช่วยแก้ปัญหาผมร่วงได้หลายสาเหตุ เช่น กรรมพันธุ์ ฮอร์โมน และความเครียด
ข้อเสีย: ต้องทำซ้ำเพื่อให้เห็นผลและต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับสภาพเส้นผมของแต่ละคน
- ผู้ที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์ ฮอร์โมน หรือสาเหตุอื่น ๆ
- ผู้ที่ต้องการการรักษาแบบไม่ผ่าตัด
- ผู้ที่มีงบประมาณเพียงพอ
- ผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
การดูแลเส้นผมควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัยและผลลัพธ์ที่ดี
The One Clinic มีวิธีแก้ผมร่วง โดยแพทย์เฉพาะทาง
The One Clinic ให้ความสำคัญกับการวินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาผมร่วง ประสบการณ์กว่า 1,000 เคส ทำให้เราพบว่าผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน อาจเกิดจากปัจจัยที่ต่างกันไป เช่น พันธุกรรม ฮอร์โมน ความเครียด แต่บ่อยครั้งก็พบว่าปัญหาผมร่วงเกิดจากเชื้อราหรือรูขุมขนอักเสบ ซึ่งเรามีวิธีการรักษาที่หลากหลาย ทั้งยาทา ยารับประทาน การฉีดยา และเลเซอร์ เพื่อกระตุ้นการงอกของเส้นผม และแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด
โปรแกรมรักษาอาการผมร่วง ที่ The One Clinic
1.Hair Multiplex
จุดเด่น: ผสาน 3 นวัตกรรม ฉีดยากระตุ้นผม, LLLT และ Hair Growth Booster เข้าด้วยกันเพื่อผลลัพธ์สูงสุด
ขั้นตอน:
- วิเคราะห์หนังศีรษะ และเส้นผม
- ทำความสะอาดหนังศีรษะ
- ฉีดยากระตุ้นผม โดยแพทย์จะเลือกตัวยาที่เหมาะสมกับอาการผมร่วงของคนไข้
- LLLT กระตุ้นการงอกของเส้นผม
- Hair Growth Booster เพื่อบำรุงและรักษารากผม
2.รักษาผมร่วงเป็นหย่อม
จุดเด่น: หลังจากวินิจฉัยสาเหตุของผมร่วงเป็นหย่อมแล้ว แพทย์จะเลือกการฉีดยาลดอาการอักเสบที่เหมาะสมเพื่อลดการร่วงของผมได้ดีที่สุด
สามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์ที่ The One Clinic ได้ทุกวัน หรือนัดหมายล่วงหน้า Add Line: @theoneclinic (มี@) หรือ โทร. 093-5830921