สงสัยมานาน ‘สิวขึ้นจมูก’ เกิดจากอะไร?
หลายคนเจอปัญหาสิวขึ้นบนจมูก เห็นชัด เกิดซ้ำบ่อย จนกลายเป็นความกังวลใจ สาเหตุหลักๆ ของสิวบนจมูก คือ ความอุดตันของขนที่บริเวณจมูก ซึ่งมีความหนาแน่นและขนาดใหญ่กว่าบริเวณอื่นๆ นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายๆ ปัจจัยที่ทำให้เกิดสิวบนจมูก ยิ่งรู้ไว ยิ่งป้องกันได้ง่ายขึ้น
6 สาเหตุของการเกิดสิวบนจมูก
- ผิวหน้าผลิตน้ำมันมากเกินไป
บริเวณจมูกมีต่อม Sebaceous Glands ที่มีขนาดใหญ่และมีการผลิตน้ำมันมากกว่าส่วนอื่นบนใบหน้า ทำให้มีโอกาสอุดตันและเกิดสิวได้ง่ายกว่า - รูขุมขนกว้าง
สำหรับคนที่มีปัญหารูขุมขนกว้าง ก็จะเพิ่มโอกาสให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคและไขมันทำให้บริเวณจมูกอุดตันจนเกิดสิว - การติดเชื้อแบคทีเรีย
สิวบางชนิดเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Propionibacterium Acnes ซึ่งพบบ่อยในบริเวณที่มีต่อมไขมันจำนวนมาก - ล้างหน้าไม่สะอาด
การล้างหน้าไม่สะอาด หรือทำความสะอาดใบหน้าแรงจนเกินไป ก็ส่งผลให้ผิวระคายเคืองและเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดสิว - แพ้เครื่องสำอางหรือสกินแคร์
การเลือกใช้เครื่องสำอางหรือสกินแคร์ที่มีสารเคมีบางประเภทก็สามารถกระตุ้นการอักเสบบนชั้นผิวหนังได้เช่นกัน - ปัจจัยทางพันธุกรรม
กรรมพันธ์ุก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากเกินไป หรือไวต่อการติดเชื้อแบคทีเรียได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
สิวขึ้นจมูก เป็นสิวประเภทใดบ้าง?
ถึงแม้ว่าสาเหตุหลักของสิวบนจมูกจะเกิดจากการที่ไขมันอุดตันรูขุมขน แต่สิวที่พบก็มีหลายชนิด แตกต่างไปตามสาเหตุ หมอหนึ่งจะพาไปทำความรู้จักสิวประเภทต่างๆ ที่เกิดบริเวณจมูก เพื่อให้คุณป้องกันอย่างถูกวิธี
- สิวอุดตัน (Comedonal Acne) พบมากที่สุดในบริเวณจมูก แบ่งเป็นสิวเสี้ยนหัวดำ (blackheads) และ สิวหัวขาว (whiteheads) ซึ่งไม่มีการอักเสบมากนัก
- สิวไม่มีหัว (Papules) มีลักษณะเนื้อนูนและแดง ส่วนมากเกิดบนจมูกหรือบริเวณที่มีต่อมไขมันจำนวนมาก
- สิวเป็นไต (Nodules) มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อที่อยู่ชั้นลึกของผิวหนัง มีการอักเสบรุนแรงและมีขนาดใหญ่
สิวขึ้นจมูก หากบีบสิวด้วยตัวเองจะอันตรายไหม?
จริงๆ แล้วการบีบสิวด้วยตัวเองไม่ใช่เรื่องอันตราย เพียงแต่ต้องรักษาความสะอาดให้ดี ดูลักษณะผิวว่าอักเสบมากน้อยแค่ไหน และที่สำคัญคือความชำนาญ หมอเองไม่แนะนำให้บีบสิว แต่เปลี่ยนเป็นการรักษาอาการด้วยยาทาภายนอกจะดีกว่า เพราะหากบีบสิวไม่ถูกวิธีอาจจะเกิดปัญหาตามมาจนลุกลามใหญ่โต ไม่ว่าจะเป็น
- เพิ่มความอักเสบ
การบีบสิวอาจทำให้ผิวบาดเจ็บและกระตุ้นให้สิวอักเสบมากขึ้น เพราะเชื้อแบคทีเรีย P. acnes น้ำมัน สิ่งสกปรกที่สะสมในหนองจะกระจายไปยังผิวหนังบริเวณใกล้เคียง - เกิดรอยสิว หลุมสิว และแผลเป็น
การบีบสิวอาจทำให้เกิดบาดแผลบนผิวหนังและเพิ่มโอกาสในการเกิดรอยและหลุมสิว ทำให้การฟื้นฟูผิวหนังใช้เวลานานและมีโอกาสเกิดแผลที่ยากต่อการรักษา - เพิ่มโอกาสติดเชื้อ
การบีบสิวทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ภายในสิวแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น เและยังเป็นการเปิดแผลให้เชื้อโรคและสิ่งสกปรกเข้าไปอุดตันจนอักเสบมากขึ้นได้ - เกิดอาการอักเสบรุนแรง
การบีบสิวมีโอกาสทำให้ผิวหนังอักเสบรุนแรงจนถึงขั้นทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นมีปัญหา - สิวเรื้อรัง
หากคุณบีบสิวโดยไม่รักษาความสะอาดจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้ผิวอุดตันและอักเสบมากขึ้นจนเกิดสิวซ้ำๆ เรื้อรัง
รักษาสิวขึ้นจมูก ทำได้อย่างไร?
สำหรับผู้ที่กำลังกังวลใจกับปัญหาสิวขึ้นจมูก หมออยากให้คลายกังวล เพราะปัจจุบันมีวิธีการรักษาที่ได้ผลลัพธ์ดีเยี่ยม ซึ่งคุณสามารถพิจารณาจากความรุนแรงของสิว ลักษณะผิว รวมทั้งความบ่อยครั้งที่เกิดสิว
ในกรณีที่ไม่มีอาการรุนแรง
สามารถรักษาด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวที่จำหน่ายตามร้านขายยาโดยผลิตภัณฑ์รักษาสิวที่นิยมใช้ ได้แก่
- เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว
- เรตินอยด์ (Retinoid) ช่วยผลัดเซลล์ผิวและลดการอุดตันของรูขุมขน
ในกรณีที่มีการอักเสบรุนแรง
หรือรักษาด้วยผลิตภัณฑ์รักษาสิวแล้วไม่หายสามารถมาพบแพทย์และใช้วิธีการรักษาดังต่อไปนี้
- Low Level Laser Therapy (LLLT) เป็นการใช้แสงพลังงานต่ำ ความยาวคลื่นเฉพาะ (มักเป็นแสงสีแดงหรือสีน้ำเงิน) ส่องผ่านชั้นผิวไปกำจัดเชื้อแบคทีเรียก่อสิวและเนื้อเยื่อที่อักเสบ ช่วยลดการอักเสบของสิว กระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ เป็นการรักษาและฟื้นฟูสุขภาพผิวในเวลาเดียวกัน
- Intense Pulsed Light (IPL) เป็นเทคโนโลยีการใช้แสงพลังงานสูง ช่วยรักษาสิวอักเสบได้ ซึ่งแสง IPL จะเข้าไปลดการทำงานของต่อมไขมัน ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย P. acnes กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินใต้ชั้นผิวหนัง ทำให้ผิวเรียบเนียนขึ้น รอยดำรอยแดงจากสิวดูจางลง
- Monopolar เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นความถี่วิทยุในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย P. acnes ลดการทำงานของต่อมไขมัน และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ช่วยให้ผิวหนังแข็งแรง ต้านทานการอักเสบ และลดการเกิดสิวในอนาคต
วิธีป้องกันการเกิด สิวขึ้นจมูก ด้วยตนเอง
สิวที่จมูกเกิดขึ้นได้บ่อยกับทุกเพศ ทุกวัย และอาจจะเกิดขึ้นซ้ำได้ เพราะจมูกเป็นบริเวณที่ไขมันส่วนเกินเยอะ อุดตันง่าย และคนทั่วไปชอบใช้มือสัมผัสโดยไม่รู้ตัว หมอหนึ่งจึงอยากแชร์วิธีป้องกันสิวขึ้นจมูกด้วยตัวเองให้ทุกคนเริ่มป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ
- ทำความสะอาดผิวหนังอย่างหมดจด ควรล้างหน้าทุกวันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อล้างสิ่งสกปรกที่ทำให้เกิดสิว
- เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ควรเลือกผลิตภัณฑ์ตามลักษณะของผิว ไม่ว่าจะเป็นผิวมัน ผิวแห้ง หรือผิวผสม เพราะลักษณะผิวที่ต่างกันย่อมต้องรับการบำรุงที่ต่างกัน
- หลีกเลี่ยงเครื่องสำอางที่มีน้ำมันหรือแอลกอฮอล์ ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำมัน แอลกอฮอล์ หรือพาราเบน เพราะเป็นตัวกระตุ้นให้ผิวระคายเคืองและอุดตัน
- หลีกเลี่ยงการบีบสิว เพราะการบีบสิวเพิ่มโอกาสให้เชื้อแบคทีเรียและสิ่งสกปรกแพร่กระจาย ที่สำคัญยังทิ้งรอยแผลเป็นและหลุมสิวอีกด้วย
- ใช้โทนเนอร์ทำความสะอาดผิว เพื่อลดการอักเสบบนผิว ควบคุมการผลิตน้ำมัน และ กระชับรูขุมขน
- รักษาแผลอย่างถูกวิธี หากมีแผลหรือรอยสิว ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมช่วยฟื้นฟูผิวหนัง
- ดูแลตนเอง (Self-care) ทั้งการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาดในปริมาณ 1-2 ลิตร/วัน เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ต้านการอักเสบ และฟื้นฟูสุขภาพจากภายในสู่ภายนอก
FAQ
Q : สิวขึ้นจมูกกี่วันถึงจะหายดี
A : ถ้าไม่มีอาการอักเสบสามารถหายเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ หากเป็นสิวอักเสบ อาจใช้เวลานานกว่า 2-4 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ถ้าสิวมีความรุนแรงมากหรือมีรอยแผลเป็นจากสิว แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง
Q : ทำไมถึงไม่ควรบีบสิวที่จมูก
A : เพราะเป็นการเพิ่มโอกาสให้สิวอักเสบได้ เนื่องจากแบคทีเรีย P. acnes จะแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งจมูกของเราก็เป็นจุดรวมของระบบหลอดเลือดจากทั้งตา คอ ปาก จึงมีความเสี่ยงที่จะทำให้เส้นเลือดฝอยบริเวณจมูกมีปัญหา
Q : สิวขึ้นจมูก เสริมจมูกได้ไหม?
A : โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่เป็นสิวสามารถเสริมจมูกได้ แต่ควรรักษาสิวให้หายก่อนทำศัลยกรรมจมูก เนื่องจากสิวอาจทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัดได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางก่อนเสมอ เพื่อความปลอดภัยของแผลศัลยกรรม
Q : ทำไมเวลาบีบสิวที่จมูกแล้วเจ็บกว่าบริเวณอื่น
A : เพราะบริเวณจมูกมีเส้นประสาทจำนวนมาก และมีต่อมไขมันที่ผลิตน้ำมันมาก เมื่อสิวอุดตันเกิดขึ้นบริเวณจมูกจึงทำให้เส้นประสาทและต่อมไขมันถูกกดทับและอักเสบ คุณจะรู้สึกปวดสิวมากกว่าบริเวณอื่นๆ