หนังศีรษะอักเสบ เป็นแผล แดงคัน รู้สาเหตุวิธีรักษาการป้องกัน

หนังศีรษะอักเสบเป็นภาวะที่เกิดการระคายเคืองหรืออักเสบบนหนังศีรษะ ซึ่งอาจเกิดจากหลากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อรา การแพ้สารเคมี หรือโรคผิวหนังเรื้อรัง อาการที่พบได้บ่อยคือ คัน แดง ลอกเป็นขุย หรือผมร่วงเป็นหย่อม ๆ แม้ในบางกรณีอาการอาจไม่รุนแรงและหายได้เอง แต่หากปล่อยไว้นานโดยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อเพิ่มเติมหรือผมร่วงถาวร การทำความเข้าใจสาเหตุและการดูแลอย่างถูกวิธีจึงเป็นสิ่งสำคัญในการฟื้นฟูสุขภาพของหนังศีรษะ

สารบัญ

สาเหตุของหนังศีรษะอักเสบ

สำหรับผู้ที่กังวลว่าจะเป็นหนังศีรษะอักเสบหรือไม่? อาจจะต้องลองสำรวจดูว่าคุณมีความเสี่ยงต่อปัจจัยใดบ้าง? เพราะอาการหนังศีรษะอักเสบเกิดขึ้นได้จาก 4 สาเหตุหลัก

 1. เชื้อโรค 

  • เชื้อรา: เป็นสาเหตุที่พบบ่อย โดยเฉพาะในเด็ก ๆ เชื้อราจะเจริญเติบโตได้ดีในที่อับชื้น ทำให้เกิดอาการคัน เป็นผื่นแดง มีสะเก็ด โดยเฉพาะ เชื้อราบนหนังศีรษะ ที่เป็นสาเหตุของอาการผมร่วงเป็นหย่อม ๆ ได้
  • แบคทีเรีย: ก็ทำให้เกิดหนังศีรษะอักเสบได้เช่นกัน มักมีอาการ แดง บวม เจ็บ และมีหนอง

2. โรคผิวหนัง

  • โรคสะเก็ดเงิน: เป็นโรคเรื้อรัง มีปัจจัยทางพันธุกรรมเกี่ยวข้องด้วย ทำให้เกิดผื่นแดง คัน สะเก็ดหนา ๆ สีเงิน โดยมีลักษณะเป็น ๆ หาย ๆ
  • โรคผิวหนังอักเสบเซ็บเดิร์ม: มักเกิดจากเชื้อยีสต์ Malassezia ทำให้มีรังแค สะเก็ดสีเหลือง ๆ เป็นมัน ซึ่งก็จะเป็น ๆ หาย ๆ ได้เช่นกัน
  • โรคภูมิแพ้ผิวหนัง: มักพบในเด็ก ทำให้ผิวแห้ง คัน เป็นผื่นแดง ซึ่งถ้าปล่อยไว้นาน ๆ ก็อาจจะทำให้ผิวอักเสบได้

3. ภูมิแพ้ 

  • การแพ้สัมผัส: อาจแพ้สารเคมีในแชมพู ครีมนวด สีย้อมผม ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม ทำให้เกิดการระคายเคือง คัน แดง และอักเสบ
  • ภูมิแพ้ตัวเอง: บางครั้งร่างกายก็ต่อต้านภูมิของตัวเอง ทำให้เกิดการอักเสบที่ผิวหนังได้

4. ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดอาการหนังศีรษะอักเสบ

  • ความเครียด: หากคุณรู้สึกเครียดมากไป ภูมิต้านทานก็อ่อนแอ เชื้อโรคก็จะฉวยโอกาสเจริญเติบโตขึ้น
  • ฮอร์โมน: ช่วงวัยรุ่น ตั้งครรภ์ หมดประจำเดือน เกิดภาวะที่ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงก็กระตุ้นให้เกิดการอักเสบได้
  • สภาพอากาศ: อากาศร้อนชื้น หรือแห้งเกินไป ก็ทำให้ผิวระคายเคืองได้
  • พันธุกรรม: บางคนมีแนวโน้มเป็นหนังศีรษะอักเสบง่ายกว่าคนอื่น
  • อาหาร: บางคนอาจแพ้อาหารบางชนิด ทำให้เกิดอาการอักเสบที่ผิวหนังได้

แยกให้ออก! ประเภทของหนังศีรษะอักเสบ

ประเภทหนังศีรษะอักเสบ

หนังศีรษะอักเสบสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท ขึ้นอยู่กับสาเหตุและลักษณะของอาการที่เกิดขึ้น โดยประเภทที่พบได้บ่อย ได้แก่:

1. หนังศีรษะอักเสบจากเชื้อรา (Tinea capitis)

  • เกิดจากการติดเชื้อรา มักพบในเด็ก
  • มีอาการคัน เป็นผื่นแดง มีสะเก็ด ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ
  • บางครั้งอาจพบตุ่มหนอง หรือต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณคอได้

2. หนังศีรษะอักเสบจากแบคทีเรีย

  • เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • มักมีอาการ แดง บวม เจ็บ และมีหนอง
  • ตัวอย่างของโรคที่เกิดจากการอักเสบจากแบคทีเรีย เช่น โรค Folliculitis ซึ่งเป็นการอักเสบของรูขุมขน

3. โรคผิวหนังอักเสบเซ็บเดิร์ม (Seborrheic dermatitis)

  • เกิดจากการตอบสนองต่อเชื้อยีสต์ Malassezia globosa
  • ทำให้เกิดรังแค สะเก็ดเหลือง เป็นมัน
  • มักพบในบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่น หนังศีรษะ ใบหน้า หน้าอก

4. โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)

  • เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง มีลักษณะเฉพาะคือ ผื่นแดง นูน มีสะเก็ดสีเงิน ขอบเขตชัดเจน
  • มักพบที่ข้อศอก เข่า ลำตัว แต่ก็สามารถเกิดขึ้นที่หนังศีรษะได้
  • ทำให้เกิดอาการคัน สะเก็ด แบบเป็น ๆ หาย ๆ

5. โรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis)

  • มักพบในเด็ก มีอาการผิวแห้ง คัน เป็นผื่นแดง
  • คนในครอบครัวมักมีประวัติเป็นภูมิแพ้ เช่น แพ้อาหาร ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ

6. การแพ้สัมผัส (Contact dermatitis)

  • เกิดจากการสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ เช่น สารเคมีในแชมพู ครีมนวด สีย้อมผม น้ำหอม
  • ทำให้เกิดการอักเสบ คัน แดง

7. หนังศีรษะอักเสบจากสาเหตุอื่น ๆ

  • โรคภูมิแพ้ตัวเอง เช่น โรคพุ่มพวง เป็นต้น
  • มักมีลักษณะเฉพาะ และต้องวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

หมายเหตุ: ประเภทของหนังศีรษะอักเสบ อาจมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้น การวินิจฉัยที่ถูกต้องจำเป็นต้องอาศัยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจเพิ่มเติมโดยแพทย์ที่มีความชำนาญด้านโรคผิวหนัง

อาการหนังศีรษะอักเสบ

อาการของหนังศีรษะอักเสบที่พบบ่อยนั้นมีค่อนข้างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับสาเหตุ ความรุนแรง ของแต่ละบุคคลค่ะ ซึ่งอาการของคนไข้หนังศีรษะอักเสบที่หมอหนึ่งพบบ่อยและมีคนไข้เข้ามาปรึกษา มีดังนี้:

  • อาการทั่วไปของอาการหนังศีรษะอักเสบ

  • คัน: เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด อาจจะคันเล็กน้อย หรือคันมากจนทนไม่ไหว บางรายอาจมีอาการคันตลอดเวลา หรือคันเป็นพัก ๆ
  • แดง: ผิวหนังบริเวณหนังศีรษะ จะมีสีแดงหรือชมพู อาจจะแดงเป็นหย่อม ๆ หรือแดงทั่วทั้งศีรษะ
  • สะเก็ด: เป็นขุย ๆ หรือแผ่น ๆ สีขาว เหลือง หรือเทา อาจมีลักษณะแห้ง หรือเป็นแผ่นมัน
  • รังแค: เป็นสะเก็ดเล็ก ๆ สีขาว หรือเหลือง มักร่วงลงมาบนเสื้อผ้าหรือไหล่
  • อาการอื่น ๆ

  • ผมร่วง: อาจมีผมร่วงมากกว่าปกติ หรือผมร่วงเป็นหย่อม ๆ
  • รู้สึกแสบร้อนหรือรู้สึกเจ็บ เวลาสัมผัส หรือเกา
  • ตุ่มหนอง: หรือแผล ในกรณีที่ติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อรา
  • ต่อมน้ำเหลืองโต: บริเวณคอ ในกรณีที่ติดเชื้อ
  • อาการเฉพาะของหนังศีรษะอักเสบแต่ละชนิด

  • โรคผิวหนังอักเสบเซ็บเดิร์ม: มักมีรังแค สะเก็ดเหลือง เป็นมัน
  • โรคสะเก็ดเงิน: มักมีผื่นหนา แดง มีสะเก็ดสีเงิน ขอบเขตชัดเจน
  • โรคภูมิแพ้ผิวหนัง: มักมีผิวแห้ง คัน เป็นผื่นแดง
  • การแพ้สัมผัส: มักมีอาการคัน แดง บวม ในบริเวณที่สัมผัสสารก่อภูมิแพ้

ปรึกษาแพทย์ให้ชัวร์ เพื่อหาสาเหตุหนังศีรษะอักเสบและรับการรักษาอย่างตรงจุด

การวินิจฉัยหนังศีรษะอักเสบ

การวินิจฉัยหนังศีรษะอักเสบ แพทย์จะใช้หลายวิธีร่วมกันเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดค่ะ ขั้นตอนการวินิจฉัยจะมีความละเอียดรอบคอบ เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพและช่วยให้อาการดีขึ้นได้อย่างตรงจุด

1. ซักประวัติ 

  • อาการที่พบ: เช่น คัน แดง สะเก็ด ผมร่วง เป็นมานานเท่าไหร่? เป็น ๆ หาย ๆ หรือไม่?
  • โรคประจำตัว: เช่น โรคภูมิแพ้ โรคเบาหวาน
  • ของใช้ส่วนตัว: เช่น ยาสระผม ครีมนวด ยาประจำตัว
  • ประวัติการแพ้: เช่น แพ้ยา แพ้อาหาร แพ้สารเคมี
  • พฤติกรรม: เช่น ความถี่ในการสระผม ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ การดูแลเส้นผม
  • สิ่งแวดล้อม: เช่น สภาพอากาศ การสัมผัสสารเคมี

2. ตรวจร่างกาย 

  • ลักษณะของผื่น: เช่น สี ขนาด รูปร่าง ขอบเขต ตำแหน่ง
  • ลักษณะของเส้นผม: เช่น ความหนา ความแห้ง การหลุดร่วง
  • ตรวจต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณคอ

3. การตรวจเพิ่มเติม 

  • Dermoscopy: ใช้กล้องขยาย ส่องดูลักษณะของผื่น
  • KOH preparation: ขูดผิวหนัง นำไปตรวจหาเชื้อราด้วยกล้องจุลทรรศน์
  • Skin biopsy: ตัดชิ้นเนื้อ ส่งตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อหาสาเหตุ
  • Trichoscopy: ใช้กล้องจุลทรรศน์ ตรวจดูเส้นผม และหนังศีรษะ
  • การตรวจเลือด: ในบางกรณี เช่น สงสัยโรคแพ้ภูมิตัวเอง

4. การวินิจฉัยแยกโรค

  • แพทย์จะพิจารณาโรคอื่น ๆ ที่มีอาการคล้ายคลึงกันร่วมด้วย เช่น โรคผิวหนังอักเสบชนิดอื่น ๆ การติดเชื้อเพื่อให้การวินิจฉัยมีความแม่นยำ และออกแบบวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับอาการของคนไข้

วิธีการรักษาหนังศีรษะอักเสบ ทำอย่างไรให้อาการดีขึ้น?

การรักษาหนังศีรษะอักเสบขึ้นอยู่กับสาเหตุ ความรุนแรง และชนิดของอาการ โดยแพทย์จะประเมินความรุนแรงและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพถึงต้นเหตุของอาการ

  • แชมพูรักษาหนังศีรษะอักเสบ

      • แชมพูที่มีส่วนผสมของ ketoconazole, selenium sulfide
      • แชมพูที่มีส่วนผสมของ tar
  • ยาทา หนังศีรษะอักเสบ

      • ยาสเตียรอยด์
      • ยาทาฆ่าเชื้อรา
  • ยารับประทาน

      • ยาต้านเชื้อรา
      • ยาต้านฮิสตามีน
      • ยา cyclosporine (สำหรับโรคสะเก็ดเงิน หรือโรคภูมิแพ้ผิวหนังที่รุนแรง)
  • การรักษาอื่น ๆ

    • การใช้ Low Level Laser Therapy เพื่อลดการอักเสบ
    • การฉีดยาลดการอักเสบ 

สิ่งสำคัญ คือ ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง หากมีอาการหนังศีรษะอักเสบควรปรึกษาแพทย์ผิวหนัง เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และรับการรักษาที่เหมาะสม รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้การรักษาได้ผลดีที่สุดค่ะ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากหนังศีรษะอักเสบ

หนังศีรษะอักเสบส่วนใหญ่มักไม่ร้ายแรงและสามารถรักษาให้หายได้ แต่หากปล่อยทิ้งไว้หรือไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ เช่น:

1. การติดเชื้อ

  • การติดเชื้อแบคทีเรีย: เช่น โรคเซลลูไลติส (Cellulitis) ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่ชั้นผิวหนัง และเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการ แดง บวม ร้อน เจ็บ
  • การติดเชื้อราที่รุนแรง ทำให้การอักเสบอาจลุกลามและรักษายากขึ้น

2. ผมร่วง

  •  ผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata)
  • ผมร่วงแบบแผลเป็น (Cicatricial alopecia) เป็นผมร่วงถาวร เนื่องจากการอักเสบทำลายลึกถึงรากผม 

3. ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

  • การติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) ในกรณีที่มีภาวะรุนแรง
  • ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (Lymphadenitis)

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน

  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ: เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV
  • การเกา: ทำให้เกิดแผล ติดเชื้อได้ง่าย
  • การรักษาที่ไม่ถูกต้อง หรือ การซื้อยามาใช้เอง อาจจะทำให้อาการรุนแรงขึ้น
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน

หมายเหตุ: ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็ควรระมัดระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ 

The One Clinic แชร์วิธีการป้องกัน ‘หนังศีรษะอักเสบ’ ด้วยตัวเอง

การดูแลหนังศีรษะและเส้นผมอย่างถูกวิธี รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดหนังศีรษะอักเสบได้ค่ะ หากสุขภาพของหนังศีรษะและเส้นผมแข็งแรง ก็จะช่วยลดโอกาสในการเกิดปัญหานี้ได้เช่นกัน ซึ่งหมอหนึ่งมีวิธีการป้องกันมาแนะนำ ดังนี้:

1. ดูแลความสะอาด 

  • สระผมอย่างถูกวิธี:
    • สระผมด้วยน้ำอุ่น ไม่ใช้น้ำร้อน เพราะจะยิ่งทำให้หนังศีรษะอ่อนแอ
    • เลือกใช้แชมพูสูตรอ่อนโยน เหมาะกับสภาพเส้นผมและหนังศีรษะของคุณ
    • นวดแชมพูเบา ๆ แล้วล้างออกให้สะอาด ไม่ควรเกาแรง ๆ เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้หนังศีรษะเกิดบาดแผล
    • ไม่ควรสระผมบ่อยเกินไป ควรสระผมวันเว้นวัน หรือ 2-3 วัน/ครั้ง 
  • ดูแลความสะอาดหวี: ควรทำความสะอาดหวีเป็นประจำ เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรค
  • ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น: เช่น หวี ผ้าเช็ดผม หมวก ที่คาดผม

2. หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น 

  • สารเคมี: 
    • สีย้อมผม น้ำยาดัด/ยืดผม
    • ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผมที่มีแอลกอฮอล์
    • น้ำหอมสำหรับฉีดผม
  • ความร้อน: เช่น การเป่าผมด้วยลมร้อน การหนีบผมเป็นประจำ
  • การเกา: ทำให้เกิดแผล ติดเชื้อได้ง่าย

3. ดูแลเส้นผม 

  • ไม่ผูกผมหรือรัดผมแน่นเกินไป
  • เลือกทรงผมที่เหมาะสม: เช่น ทรงผมที่ไม่ทำให้หนังศีรษะอับชื้น
  • หลีกเลี่ยงการสวมใส่หมวกเป็นเวลานาน ๆ เพราะจะทำให้เกิดหนังศีรษะอับชื้นได้

4.รักษาสุขภาพทั่วไป

  • ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้หนังศีรษะ
  • รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน โดยเฉพาะโปรตีน ไบโอติน และวิตามินบี
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการหนังศีรษะอักเสบ

คำถามที่พบบ่อยหนังศีรษะอักเสบ

Q : หนังศีรษะอักเสบสามารถหายได้เองหรือไม่?

A : ในบางกรณี เช่น การแพ้แชมพูหรือผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม อาการอาจหายได้เองเมื่อหยุดใช้ แต่หากอาการเกิดจากเชื้อรา โรคผิวหนัง หรือมีการอักเสบรุนแรง มักไม่หายเอง ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม

Q : การใช้ยาสระผมทั่วไปสามารถรักษาหนังศีรษะอักเสบได้ไหม?

A : ยาสระผมธรรมดาไม่สามารถรักษาหนังศีรษะอักเสบได้ค่ะ เนื่องจากไม่มีส่วนผสมของยาที่ช่วยจัดการกับสาเหตุ เช่น เชื้อราหรือแบคทีเรีย ยิ่งไปกว่านั้น ยาสระผมที่มีสารเคมีรุนแรงอาจทำให้อาการแย่ลงได้ แนะนำให้ใช้แชมพูยาที่แพทย์แนะนำสำหรับปัญหาหนังศีรษะโดยเฉพาะ

Q : หากมีปัญหาหนังศีรษะอักเสบควรใช้อะไรดี?

A : การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ เช่น

  • ใช้แชมพูยาที่มีส่วนผสมช่วยลดเชื้อรา แบคทีเรีย หรือการอักเสบ 
  • รักษาด้วย ยาทาหรือยากิน ที่แพทย์สั่ง
  • หลีกเลี่ยงการเกา และหลีกเลี่ยงสารเคมีรุนแรง เช่น การย้อม ดัด หรือยืดผม
  • หากอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อวางแผนการรักษาอย่างตรงจุด

ปัญหาผิวหนัง ปรึกษาที่ The One Clinic

สำหรับผู้ที่มีปัญหา หนังศีรษะอักเสบ หรือปัญหาผิวหนังอื่น ๆ สามารถเข้ามาปรึกษา หมอหนึ่ง ที่ The One Clinic เพื่อรับการประเมินอาการอย่างละเอียด พร้อมคำแนะนำและการรักษาที่ตรงจุด ช่วยให้อาการค่อย ๆ ดีขึ้นจนหายดี ลดโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำ 

นอกจากนี้ The One Clinic ยังมีโปรแกรมดูแลปัญหาผิวพรรณ เช่น สิว ฝ้า กระ รอยสิว จุดด่างดำ ปัญหาผิวหนังและเส้นผม ด้วยการดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง ได้รับความไว้วางใจจากรีวิวคนไข้จริงมากมาย 📞 ปรึกษาฟรี โทร 093-583-0921 หรือ แอดไลน์สอบถามข้อมูลที่ @theoneclinic ได้ทุกวัน!

บทความที่คล้ายกัน

หนังศีรษะอักเสบ

หนังศีรษะอักเสบ เป็นแผล แดงคัน รู้สาเหตุวิธีรักษาการป้องกัน

ปัญหากวนใจ หนังศีรษะอักเสบ แดง คัน รู้สาเหตุ วิธีรักษา การป้องกัน เพื่อดูแลสุขภาพหนังศีรษะให้แข็งแรง ลดความรำคาญและความเสี่ยงรุนแรงในระยะยาว

โควิดผมร่วง

โควิด ผมร่วง? และผมร่วงหลังฉีดวัคซีนโควิด รู้สาเหตุ และวิธีป้องกัน ฟื้นฟูเส้นผมให้สุขภาพดี

ผมร่วงจากโควิดหรือหลังฉีดวัคซีนโควิด เป็นเรื่องที่หลายคนกังวล! เรียนรู้สาเหตุ วิธีป้องกัน และฟื้นฟูเส้นผมให้แข็งแรง สุขภาพดีอย่างยั่งยืนในบทความนี้

วิธีแก้ผมร่วง

วิธีแก้ผมร่วง ทางออกสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมบางและหัวล้าน

ปัญหาผมร่วง ผมบาง หัวล้าน ส่งผลต่อความมั่นใจ แก้ไขได้ด้วยการดูแลสุขภาพ การบำรุง และวิธีแก้ผมร่วงด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ The One Clinic แนะนำ