ผมบางก็กลับมาหนาได้! รู้สาเหตุ วิธีป้องกันและรักษาให้ตรงจุด บอกลาปัญหาผมขาดร่วง

สำหรับปัญหาผมร่วง ผมบาง และศีรษะล้าน สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นใจ เนื่องจากทรงผมมีบทบาทสำคัญในการสร้างภาพลักษณ์และเสริมบุคลิกภาพ The One Clinic จึงอยากแชร์ความรู้เกี่ยวกับปัญหาผมบาง รวมถึงการรักษาเพื่อให้ผมกลับมาแข็งแรง หนาขึ้น และลดการขาดหลุดร่วง

ปัญหาผมบางคืออะไร?

ปัญหาผมบาง คือภาวะที่เส้นผมมีปริมาณลดลง ทำให้ดูบางลงกว่าปกติ ส่งผลต่อบุคลิกภาพและความมั่นใจของผู้ประสบปัญหา ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง โดยมีสาเหตุค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งโดยปกติแล้ว คนเราจะมีผมร่วงประมาณ 50-100 เส้นต่อวัน เนื่องจากเส้นผมมีวงจรชีวิตของมันเอง คือ มีช่วงเจริญเติบโต ช่วงพัก และช่วงหลุดร่วง เพื่อให้เส้นผมใหม่งอกขึ้นมาแทนที่ ในวันสระผม ผมอาจร่วงได้มากกว่าปกติ แต่ถ้าลองสังเกตตัวเองแล้วพบว่าผมร่วงมากกว่า 150 เส้นต่อวันอย่างต่อเนื่อง หรือมีผมร่วงเป็นหย่อม ๆ จนรู้สึกว่าผมบางลงอย่างเห็นได้ชัด ควรปรึกษาแพทย์ที่มีความชำนาญด้านเส้นผมเพื่อแก้ปัญหาโดยเร็ว

รวมทุกสาเหตุของ ผมบาง เกิดจากอะไรบ้าง?

สาเหตุผมบาง

หากคุณมีปัญหาผมร่วง ผมบางและมีความกังวล เราลองมาดูสาเหตุของการเกิดผมร่วง ผมบาง ทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายใน ดังนี้:

1.ปัจจัยทางพันธุกรรม

ผมบางจากพันธุกรรม หรือที่เรียกว่า “ศีรษะล้านแบบผู้ชาย” และ “ศีรษะล้านแบบผู้หญิง” เป็นสาเหตุหลักของปัญหาผมบาง โดยเฉพาะในผู้ชาย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะถ่ายทอดทางพันธุกรรมฝั่งมารดา

ลักษณะเฉพาะ:

  • ผู้ชาย: ผมจะเริ่มบางลงบริเวณขมับและกลางศีรษะก่อน แล้วค่อย ๆ ลุกลามไปทั่วศีรษะ จนอาจทำให้เกิดศีรษะล้านได้ในที่สุด
  • ผู้หญิง: ผมจะบางลงทั่วศีรษะ โดยเฉพาะบริเวณกลางศีรษะ ทำให้ผมดูบางลง แต่ส่วนใหญ่มักไม่ถึงขั้นศีรษะล้าน

สาเหตุ:

  • ความไวต่อฮอร์โมน DHT: รากผมของผู้ที่มีพันธุกรรมผมบางมีความไวต่อฮอร์โมน DHT (Dihydrotestosterone) ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของฮอร์โมนเพศชาย โดยฮอร์โมนนี้ทำให้รากผมมีขนาดเล็กลง อายุของเส้นผมสั้นลง และผมที่งอกใหม่มีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ จนในที่สุดรากผมฝ่อลงและไม่สามารถสร้างเส้นผมใหม่ได้

2.ฮอร์โมน

ผมบางจากฮอร์โมน เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อวงจรการเจริญเติบโตของเส้นผม ทำให้ผมร่วงและบางลงอย่างเห็นได้ชัด

สาเหตุสำคัญ:

  • ฮอร์โมน DHT: อย่างที่อธิบายข้างต้นว่าฮอร์โมน DHT (Dihydrotestosterone) เป็นอนุพันธ์ของฮอร์โมนเพศชาย มีผลทำให้รากผมมีขนาดเล็กลง อายุของเส้นผมสั้นลง และผมที่งอกใหม่มีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ จนรากผมฝ่อลงและไม่สามารถสร้างเส้นผมใหม่ได้ พบได้บ่อยในผู้ชายที่มีพันธุกรรมผมบาง หรือ “ศีรษะล้านแบบผู้ชาย”
  • ความไม่สมดุลของฮอร์โมนอื่น ๆ: ฮอร์โมนชนิดอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม ได้แก่ 
    • ฮอร์โมนไทรอยด์: ทั้งภาวะไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) และไทรอยด์ทำงานต่ำ (Hypothyroidism) สามารถทำให้ผมร่วงได้
    • ฮอร์โมนเพศหญิง: การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เช่น ในช่วงตั้งครรภ์ หลังคลอดบุตร หรือช่วงวัยหมดประจำเดือน อาจทำให้ผมร่วงชั่วคราวได้

3.การดูแลรักษาผมไม่ถูกวิธี

การดูแลรักษาผมโดยไม่ถูกวิธีก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพเส้นผม ทำให้ผมอ่อนแอ แห้งเสีย แตกปลาย และหลุดร่วงง่าย ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาผมบางในระยะยาว หมอหนึ่งมีตัวอย่างพฤติกรรมการดูแลผมที่ไม่ถูกวิธีมาให้ทุกคนได้ลองสังเกตตัวเองและปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของตัวเอง เพื่อให้เส้นผมแข็งแรง ลดการขาดหลุดร่วง ซึ่งก็จะช่วยป้องกันการเกิดปัญหาผมบางได้

  • สระผมบ่อยเกินไป: การสระผมทุกวันอาจทำให้หนังศีรษะแห้ง และชะล้างน้ำมันธรรมชาติที่จำเป็นต่อการบำรุงเส้นผมออกไป ควรสระผม 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือตามสภาพเส้นผมและหนังศีรษะ
  • ใช้น้ำร้อนสระผม: น้ำร้อนจะทำให้หนังศีรษะแห้ง และเส้นผมสูญเสียความชุ่มชื้น ควรใช้น้ำอุ่นหรือน้ำเย็นในการสระผม
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะกับสภาพเส้นผม: การใช้แชมพู ครีมนวด หรือผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผมที่ไม่เหมาะกับสภาพเส้นผม อาจทำให้ผมแห้งเสีย และระคายเคืองหนังศีรษะได้ ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพเส้นผมของคุณและไม่มีสารก่อการระคายเคือง
  • เช็ดผมแรง ๆ: การเช็ดผมแรง ๆ ด้วยผ้าขนหนู อาจทำให้เส้นผมขาดหลุดร่วงได้ ควรใช้ผ้าขนหนูซับผมเบา ๆ เพื่อซับน้ำออก
  • หวีผมตอนผมเปียก: เส้นผมเปียกมีความอ่อนแอและขาดง่าย การหวีผมตอนผมเปียกอาจทำให้ผมขาดหลุดร่วงได้ ควรรอให้ผมแห้งหมาด ๆ ก่อนค่อยหวีผมเบา ๆ
  • ใช้ความร้อนจัดแต่งทรงผมบ่อย ๆ: การใช้ไดร์เป่าผม เครื่องหนีบผม หรือเครื่องม้วนผมที่ความร้อนสูงเป็นประจำ อาจทำให้ผมแห้งเสีย แตกปลาย และขาดหลุดร่วงง่าย ควรหลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนจัดแต่งทรงผมบ่อย ๆ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันความร้อนก่อนจัดแต่งทรงผม
  • ทำสีผม ดัดผม ยืดผม บ่อยเกินไป: สารเคมีที่ใช้ในการทำสีผม ดัดผม หรือยืดผม อาจทำให้ผมแห้งเสีย และอ่อนแอลง ควรเว้นระยะเวลาในการทำเคมีเหล่านี้ และบำรุงเส้นผมมากเป็นพิเศษหลังทำเคมี
  • รัดผมแน่นเกินไป หรือรัดผมทรงเดิมซ้ำ ๆ: การรัดผมแน่นเกินไป หรือรัดผมทรงเดิมซ้ำ ๆ อาจทำให้ผมขาดหลุดร่วงบริเวณที่รัดผม ควรรัดผมหลวม ๆ และเปลี่ยนทรงผมบ้าง เพื่อให้ผมจุดเดิมได้พักจากการถูกรัดแน่น

4.สุขภาพและโภชนาการ

การดูแลสุขภาพและโภชนาการที่ดีมีส่วนสำคัญในการรักษาสุขภาพเส้นผมและป้องกันปัญหาผมบางได้เช่นกัน เพราะเส้นผมของเราประกอบด้วยโปรตีนเป็นหลัก และต้องการสารอาหารที่หลากหลายเพื่อการเจริญเติบโตและความแข็งแรง 

สารอาหารสำคัญสำหรับสุขภาพเส้นผม

    • โปรตีน: ช่วยให้ผมแข็งแรงและเติบโตได้ดี พบในเนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว และธัญพืช
    • ธาตุเหล็ก: ช่วยในการลำเลียงออกซิเจนไปยังรากผม พบในเนื้อแดง ผักใบเขียวเข้ม และธัญพืช
    • สังกะสี: มีส่วนช่วยในการสร้างเซลล์ผมใหม่ และควบคุมการทำงานของต่อมไขมันบนหนังศีรษะ พบในหอยนางรม เนื้อสัตว์ ถั่ว และธัญพืช
    • วิตามินดี: ข้อมูลทางการแพทย์พบว่าการขาดวิตามินดีนั้นส่งผลต่อภาวะผมร่วงเป็นหย่อม ซึ่งเป็นโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันโจมตีรูขุมขน ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ 

Ref : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5527723/) 

5.ความเครียด

ความเครียดเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาผมร่วงและผมบางได้ แม้ว่าจะไม่ใช่สาเหตุโดยตรง แต่ความเครียดเรื้อรังสามารถส่งผลกระทบต่อวงจรการเจริญเติบโตของเส้นผม และทำให้ผมร่วงมากกว่าปกติ หากคุณสามารถจัดการความเครียดได้ดีขึ้น ไม่เพียงส่งผลต่อเส้นผมที่แข็งแรง แต่ยังช่วยให้สุขภาพองค์รวมดีขึ้นอีกด้วย

ความเครียดส่งผลต่อผมร่วงอย่างไร?

  • ขัดขวางวงจรการเจริญเติบโตของเส้นผม: ความเครียดทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ออกมาในปริมาณมาก ซึ่งฮอร์โมนนี้จะเข้าไปขัดขวางวงจรการเจริญเติบโตของเส้นผม หรือภาวะผมร่วงชั่วคราว (Telogen Effluvium) 
  • ลดการไหลเวียนของเลือด: ความเครียดทำให้หลอดเลือดหดตัว ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงหนังศีรษะลดลง ทำให้รากผมได้รับสารอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ จึงอ่อนแอและหลุดร่วงได้ง่ายขึ้น
  • กระตุ้นพฤติกรรมทำร้ายเส้นผม: ความเครียดอาจทำให้บางคนมีพฤติกรรมทำร้ายเส้นผมโดยไม่รู้ตัว เช่น การดึงผม การทึ้งผม การบิดผม หรือการเกาหนังศีรษะ ซึ่งทำให้ผมขาดหลุดร่วงได้ง่ายขึ้น

6.โรคบางชนิด

สำหรับผู้ที่ป่วยด้วยโรคบางชนิดก็สามารถเป็นสาเหตุของปัญหาผมร่วงและผมบางได้ โดยมีกลไกการเกิดที่หลากหลาย ตั้งแต่การขัดขวางวงจรการเจริญเติบโตของเส้นผม ไปจนถึงการทำลายรากผมโดยตรง โดยโรคที่พบบ่อยที่อาจทำให้เกิดผมร่วง ได้แก่:

  • โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata): เป็นโรคภูมิตนเองที่ระบบภูมิคุ้มกันโจมตีรากผม ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ อาจเกิดขึ้นที่หนังศีรษะ หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้
  • โรคผิวหนังบางชนิด: อาทิ โรคเชื้อราบนหนังศีรษะ โรคสะเก็ดเงิน และโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง เป็นสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงได้
  • โรคต่อมไทรอยด์: ทั้งภาวะไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) และไทรอยด์ทำงานต่ำ (Hypothyroidism) สามารถทำให้ผมร่วงได้
  • โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก: การขาดธาตุเหล็กทำให้ร่างกายผลิตเม็ดเลือดแดงได้น้อยลง ซึ่งส่งผลต่อการลำเลียงออกซิเจนไปยังรากผม และทำให้ผมร่วงได้ง่ายกว่าปกติ
  • โรคเรื้อรังบางชนิด: อาทิ โรคเบาหวาน โรคลูปัส และโรคมะเร็ง อาจมีผลข้างเคียงทำให้ผมร่วงได้
  • การติดเชื้อบางชนิด: อาทิ ไข้หวัดใหญ่ หรือการติดเชื้อแบคทีเรียรุนแรง อาจทำให้ผมร่วงชั่วคราวได้

สิ่งสำคัญ:

  • ผมร่วงอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางชนิด หากคุณมีปัญหาผมร่วง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม

การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของผมร่วง มักจะช่วยให้ผมกลับมางอกใหม่ได้ และในหลายกรณีการรักษาโรคเหล่านี้สามารถทำให้ผมกลับมาหนาใหม่ได้โดยที่ไม่ต้องปลูกผมเลยค่ะ

7. ผลกระทบจากยาบางชนิด

ยาบางชนิดสามารถส่งผลข้างเคียงทำให้เกิดปัญหาผมร่วงและผมบางได้ โดยมีกลไกการออกฤทธิ์ที่หลากหลาย ตั้งแต่การรบกวนวงจรการเจริญเติบโตของเส้นผม ไปจนถึงการทำลายเซลล์รากผม หมอหนึ่งรวบรวมตัวอย่างยาที่อาจทำให้เกิดผมร่วงมาฝากกัน หากคุณจำเป็นต้องใช้ยากลุ่มนี้ก็ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ที่มีความชำนาญนะคะ

  • ยาเคมีบำบัด: ยาที่ใช้ในการรักษามะเร็ง มักมีผลข้างเคียงทำให้ผมร่วงอย่างรุนแรง เนื่องจากยาเหล่านี้ทำลายเซลล์ที่แบ่งตัวเร็ว ซึ่งรวมถึงเซลล์รากผมด้วย
  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด: ยาบางชนิดที่ใช้ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด เช่น วาร์ฟาริน (Warfarin) และเฮปาริน (Heparin) 
  • ยาลดความดันโลหิต: ยาบางชนิดที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูง เช่น เบตาบล็อกเกอร์ (Beta-blockers) และยาขับปัสสาวะ ก็มีส่วนทำให้ผมร่วงได้
  • ยารักษาโรคซึมเศร้า: ยาบางชนิดที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า เช่น ยากลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) และยากลุ่ม Tricyclic antidepressants อาจส่งผลให้ผมร่วงได้
  • ยาคุมกำเนิด: ยาคุมกำเนิดบางชนิดที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนโปรเจสติน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาผมร่วง โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีความไวต่อฮอร์โมนนี้
  • วิตามินเอ: การรับประทานวิตามินเอในปริมาณที่สูงเกินไป อาจเป็นพิษต่อร่างกายและทำให้ผมร่วง ผมบาง 
  • ยารักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์: ยาบางชนิดที่ใช้รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เช่น Methotrexate และ Leflunomide 

สิ่งสำคัญ:

  • ผมร่วงจากยา มักจะเป็นภาวะชั่วคราว และผมมักจะกลับมางอกใหม่ได้เองเมื่อหยุดใช้ยา หรือเมื่อร่างกายปรับตัวเข้ากับยาได้
  • หากคุณสังเกตว่าผมร่วงหลังจากเริ่มใช้ยาใหม่ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทันที อย่าหยุดยาเองโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
  • ในบางกรณี แพทย์อาจพิจารณาเปลี่ยนยา หรือปรับลดขนาดยา เพื่อลดผลข้างเคียงต่อเส้นผม
  • การดูแลเส้นผมอย่างอ่อนโยน และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ก็สามารถช่วยลดผลกระทบจากยาต่อเส้นผมได้

ลักษณะอาการของปัญหาผมบาง ผมร่วง

ปัญหาผมบาง ผมร่วง จะเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง แต่ลักษณะอาการในผู้ชายและผู้หญิง อาจจะมีความแตกต่างกัน ทั้งบริเวณที่ผมร่วง ปริมาณผมที่ร่วง รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการหลุดร่วงของเส้นผม หมอหนึ่งได้แยกความแตกต่างระหว่างผมร่วงในผู้ชายและผู้หญิงไว้ให้แล้วค่ะ

ศีรษะล้านแบบผู้ชาย (Male Pattern Baldness)

    • เริ่มจากผมบางลงบริเวณขมับและกลางศีรษะ
    • ค่อย ๆ ลุกลามเป็นรูปตัว M จนอาจเกิดศีรษะล้านในที่สุด
    • มักมีสาเหตุหลักจากพันธุกรรม และฮอร์โมน DHT
ศีรษะล้านในผู้ชาย

ผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata)

    • ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ บนหนังศีรษะ หรือบริเวณอื่น ๆ ที่มีขน
    • อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
ผมร่วงเป็นหย่อม

ศีรษะล้านแบบผู้หญิง (Female Pattern Hair Loss)

    • ผมบางลงทั่วศีรษะ โดยเฉพาะบริเวณกลางศีรษะ ทำให้เห็นหนังศีรษะชัดขึ้น
    • มักไม่ถึงขั้นศีรษะล้าน
    • สาเหตุอาจมาจากพันธุกรรม ฮอร์โมน หรือปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความเครียด การขาดสารอาหารบางชนิด
ศีรษะล้านในผู้หญิง

ผมร่วงจาก Telogen Effluvium

  • ผมร่วงมากผิดปกติทั่วศีรษะ หลังจากเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด เช่น การเจ็บป่วย การผ่าตัด หรือการคลอดบุตร
  • มักเป็นภาวะชั่วคราว และผมจะกลับมางอกใหม่ได้เอง

อาการอื่น ๆ ที่อาจพบร่วม:

  • คันหรือระคายเคืองที่บริเวณหนังศีรษะ
  • มีรังแค
  • ผมแห้งเสีย แตกปลาย
  • เล็บเปราะ หรือผิดรูป

ผู้ชายและผู้หญิง ใครมีโอกาสเกิดผมบางได้มากกว่ากัน?

ผมบางในผู้ชายและผู้หญิง

โดยทั่วไปแล้ว ผู้ชายมีโอกาสเกิดผมบางได้มากกว่าผู้หญิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมบางจากพันธุกรรม หรือที่เรียกว่า “ศีรษะล้านแบบผู้ชาย” ซึ่งพบได้บ่อยและมีแนวโน้มที่จะถ่ายทอดทางพันธุกรรมฝั่งมารดา 

เหตุผลที่ผู้ชายมีโอกาสเกิดผมบางมากกว่า:

  • ฮอร์โมน DHT: ผู้ชายมีระดับฮอร์โมน DHT (Dihydrotestosterone) สูงกว่าผู้หญิง ซึ่งฮอร์โมนนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดผมบางจากพันธุกรรม
  • พันธุกรรม: ยีนที่เกี่ยวข้องกับผมบางจากพันธุกรรมมักแสดงออกในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงก็สามารถประสบปัญหาผมบางได้เช่นกัน แต่รูปแบบการเกิดมักแตกต่างจากผู้ชาย โดยผมมักจะบางลงทั่วศีรษะแทนที่จะเป็นหย่อม ๆ และมักไม่ถึงขั้นศีรษะล้าน 

วิธีการป้องกันและรักษาผมบาง

การป้องกันและรักษาผมบางสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม และการรักษาทางการแพทย์ โดยวิธีที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของผมบางและความรุนแรงของอาการ

1. การดูแลเส้นผม

  • สระผมด้วยแชมพูอ่อนโยนและน้ำอุ่น หลีกเลี่ยงการสระผมบ่อยเกินไป
  • ใช้ครีมนวดผมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและลดการขาดของเส้นผม
  • ซับผมให้แห้งเบา ๆ ด้วยผ้าขนหนู หลีกเลี่ยงการขยี้หรือเช็ดแรง ๆ
  • หวีผมด้วยหวีซี่ห่างเมื่อผมเปียก และหลีกเลี่ยงการหวีหรือแปรงผมแรง ๆ
  • ลดการใช้ความร้อนจากเครื่องเป่าผม เครื่องหนีบผม และเครื่องม้วนผม
  • หลีกเลี่ยงการทำเคมีที่รุนแรง เช่น การยืดผม การดัดผม และการทำสีผมบ่อย ๆ
  • รัดผมหลวม ๆ และเปลี่ยนทรงผมบ่อยๆ เพื่อไม่ให้ผมถูกดึงรั้งมากเกินไป

2. การรับประทานอาหารที่ดี:

  • โปรตีน: เป็นส่วนประกอบหลักของเส้นผม ช่วยให้ผมแข็งแรงและเติบโตได้ดี พบในเนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว และธัญพืช
  • ธาตุเหล็ก: ช่วยในการลำเลียงออกซิเจนไปยังรากผม พบในเนื้อแดง ผักใบเขียวเข้ม และธัญพืช
  • สังกะสี: มีส่วนช่วยในการสร้างเซลล์ผมใหม่ และควบคุมการทำงานของต่อมไขมันบนหนังศีรษะ พบในหอยนางรม เนื้อสัตว์ ถั่ว และธัญพืช
  • วิตามินบี: โดยเฉพาะไบโอติน (วิตามินบี7) มีส่วนสำคัญในการสร้างเคราติน ซึ่งเป็นโปรตีนหลักในเส้นผม พบในไข่แดง ตับ ถั่ว และอะโวคาโด
  • วิตามินซี: ช่วยในการสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยให้เส้นผมแข็งแรง พบในผลไม้รสเปรี้ยว และผักใบเขียว
  • วิตามินเอ: ช่วยในการผลิตน้ำมันธรรมชาติที่ช่วยให้หนังศีรษะชุ่มชื้น พบในแครอท ผักโขม และมันเทศ
  • โอเมก้า-3: ช่วยลดการอักเสบ และบำรุงหนังศีรษะให้แข็งแรง พบในปลาที่มีไขมันดี เช่น ปลาแซลมอน และเมล็ดแฟลกซ์

3. การจัดการความเครียด

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: เพื่อลดระดับฮอร์โมนความเครียด และกระตุ้นการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ซึ่งช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและมีความสุข ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน หรือ 150 นาทีต่อสัปดาห์
  • ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย: อาทิ การทำสมาธิ โยคะ การหายใจลึก ๆ หรือการฟังเพลงผ่อนคลาย ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตให้ดีขึ้น
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ: การนอนหลับอย่างมีคุณภาพ 7-8 ชั่วโมงต่อคืน ช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูและลดความเครียดได้ 

4. การรักษาและวิธีทางการแพทย์

การรักษาและวิธีทางการแพทย์สำหรับปัญหาผมร่วงและผมบางมีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหาและความรุนแรงของอาการ รวมทั้งการวินิจฉัยที่ถูกต้องโดยแพทย์เฉพาะทางด้านเส้นผม เพื่อออกแบบวิธีการรักษาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

วิธีการรักษาทางการแพทย์:

  • การรักษาด้วยยา:
    • ไมนอกซิดิล (Minoxidil): ยาทาที่ช่วยกระตุ้นการงอกใหม่ของเส้นผมและชะลอการหลุดร่วง มีทั้งแบบ 2% และ 5% สำหรับผู้ชายและผู้หญิง
    • ฟิแนสเทอไรด์ (Finasteride): ยารับประทานสำหรับผู้ชาย ช่วยยับยั้งการทำงานของฮอร์โมน DHT ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของผมร่วงจากพันธุกรรม
    • สไปโรโนแลคโตน (Spironolactone): ยารับประทานสำหรับผู้หญิง ช่วยลดผลกระทบของฮอร์โมนเพศชายที่มีต่อรากผม
    • ยาอื่น ๆ: แพทย์อาจพิจารณาจ่ายยาอื่น ๆ เช่น ยาต้านการอักเสบ ยาปฏิชีวนะในกรณีที่มีอาการเชื้อราที่หนังศีรษะ 
  • เลเซอร์:
    • Low-level laser therapy (LLLT): การใช้แสงเลเซอร์กำลังต่ำช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและการงอกใหม่ของเส้นผม 
  • การรักษาวิธีอื่น ๆ:
    • PRP (Platelet-rich plasma): การฉีดพลาสมาที่อุดมด้วยเกล็ดเลือดเข้าสู่หนังศีรษะ เพื่อกระตุ้นการงอกใหม่ของเส้นผม
    • Mesotherapy: การฉีดวิตามินและยาเข้าสู่หนังศีรษะ เพื่อบำรุงรากผมและกระตุ้นการงอกใหม่ของเส้นผม 
  • การปลูกผม:
    • FUT (Follicular Unit Transplantation): การผ่าตัดนำแถบหนังศีรษะที่มีรากผมจากบริเวณท้ายทอยมาปลูกในบริเวณที่ผมบาง
    • FUE (Follicular Unit Extraction): การผ่าตัดนำรากผมทีละกอจากบริเวณท้ายทอย มาปลูกในบริเวณที่ผมบาง

ข้อควรพิจารณา:

  • ปรึกษาแพทย์: การเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยสาเหตุของผมร่วงและประเมินความเหมาะสมของแต่ละวิธี จะช่วยให้รักษาได้ตรงจุดและเห็นผล
  • ปลูกผมหรือไม่ปลูกผม: ในประสบการณ์ของหมอหนึ่งที่ได้รักษาอาการผมร่วง ผมบาง จำนวนกว่า 500 เคส พบว่าคนไข้ส่วนใหญ่มีอาการแพ้ หรือ มีผื่นเชื้อราที่หนังศีรษะที่ทำให้เกิดผมร่วง หลังจากรักษาอาการเหล่านี้ให้หายแล้วคนไข้สามารถมีผมกลับมาได้เกือบปกติภายใน 8-10 เดือนโดยที่ไม่ต้องปลูกผม
  • ผลลัพธ์และระยะเวลา: การรักษาผมร่วงผมบางทุกชนิดต้องใช้เวลามากกว่า 4-6 เดือนถึงจะเห็นผล แม้กระทั่งการปลูกผมก็ต้องใช้เวลามากกว่า 6 เดือน เพราะเส้นผมเติบโตได้ราว ๆ 0.3 มิลลิเมตรต่อวัน หรือ 1 เซนติเมตรต่อเดือน

การป้องกันปัญหาผมบางในอนาคต

การป้องกันปัญหาผมบางในอนาคต ต้องอาศัยการดูแลสุขภาพโดยรวมและเส้นผมอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดผมร่วงและผมบาง หมอหนึ่งขอแชร์แนวทางป้องกันและทริคการดูแลสุขภาพผมเบื้องต้นให้นะคะ

1. ดูแลเส้นผมอย่างถูกวิธี:

  • สระผมอย่างอ่อนโยน: ใช้น้ำอุ่นและแชมพูอ่อนโยน สระผม 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือตามสภาพหนังศีรษะ หลีกเลี่ยงการเกาหรือขยี้หนังศีรษะแรงๆ
  • ใช้ครีมนวดผม: ช่วยให้ผมนุ่มลื่นและจัดทรงง่าย ลดการขาดและพันกันของเส้นผม
  • ซับผมให้แห้งเบา ๆ: ใช้ผ้าขนหนูซับน้ำออกจากเส้นผมเบา ๆ หลีกเลี่ยงการขยี้หรือเช็ดแรง ๆ หลีกเลี่ยงการนอนก่อนผมจะแห้งเพราะสามารถทำให้เกิดเชื้อราได้
  • หวีผมอย่างระมัดระวัง: ใช้หวีซี่ห่างเมื่อผมเปียก และหวีผมเบา ๆ จากปลายขึ้นไปหาโคนผม
  • ลดการใช้ความร้อน: ลดการใช้เครื่องเป่าผม เครื่องหนีบผม และเครื่องม้วนผมให้น้อยลง หากจำเป็นต้องใช้ ควรใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันความร้อนก่อน
  • ทำเคมีให้น้อยลง: เว้นระยะเวลาในการทำสีผม ดัดผม หรือยืดผม และบำรุงเส้นผมอย่างสม่ำเสมอหลังทำเคมี
  • รัดผมอย่างถูกวิธี: รัดผมหลวมๆ และเปลี่ยนทรงผมบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการรัดผมแน่นเกินไป หรือรัดผมทรงเดิมซ้ำๆ 

2. ดูแลสุขภาพโดยรวม:

  • จัดการความเครียด: ความเครียดอาจทำให้ผมร่วงได้ ควรหาเวลาผ่อนคลายและจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม เช่น การออกกำลังกาย ฝึกสมาธิ หรือทำกิจกรรมที่ชอบ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ: การนอนหลับอย่างมีคุณภาพช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูและซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ รวมถึงเซลล์รากผม
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงหนังศีรษะ และส่งเสริมสุขภาพโดยรวม
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์: สารเหล่านี้มีผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมและสุขภาพเส้นผม
  • ตรวจสุขภาพประจำปี: เพื่อตรวจหาและรักษาโรคต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของผมร่วง

3.. ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านเส้นผม:

  • หากมีประวัติครอบครัวเป็นโรคผมร่วง หรือสังเกตเห็นความผิดปกติของเส้นผม เช่น ผมร่วงมากผิดปกติ ผมบางลง หรือมีอาการคันหรือรังแค ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับคำแนะนำในการป้องกันหรือรักษา

FAQ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับผมบาง

Q : ลดน้ำหนักทำให้ผมร่วง ผมบางจริงไหม?

A :ใช่ค่ะ การลดน้ำหนักอาจทำให้ผมร่วง ผมบางได้จริง แต่ส่วนใหญ่เกิดจากการลดน้ำหนักที่ผิดวิธีหรือรวดเร็วเกินไป ส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเส้นผมค่ะ หากรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อเส้นผมอย่างเพียงพอก็จะช่วยลดปัญหาผมร่วงได้

Q : กินผงชูรสเยอะ ผมขาดร่วง ผมบาง จริงไหม?

A :ไม่จริงค่ะ ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งชี้ว่าการกินผงชูรสในปริมาณมากจะทำให้ผมขาดร่วงหรือผมบางโดยตรง ความเชื่อนี้เป็นความเข้าใจผิดที่แพร่หลายมานานค่ะ

Q : ทานยาคุม ส่งผลให้ผมบางจริงหรือไม่?

A : จริงในบางกรณี เพราะยาคุมกำเนิดบางชนิด โดยเฉพาะชนิดที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนโปรเจสติน อาจทำให้เกิดผมร่วงหรือผมบางได้ในบางคน โดยเฉพาะผู้ที่มีความไวต่อฮอร์โมนนี้หรือมีประวัติครอบครัวที่มีปัญหาผมร่วงค่ะ

Q : รังแคทำให้ผมร่วง ผมบาง หรือไม่?

A : รังแคไม่ได้ทำให้ผมร่วงหรือผมบางโดยตรง แต่เกี่ยวข้องแบบทางอ้อมที่อาจนำไปสู่ปัญหาการอักเสบของหนังศีรษะซึ่งส่งผลให้ผมร่วงได้

Q : ผมบาง ควรรับประทานวิตามินอะไรบ้าง?

A : หมอแนะนำให้ทานสารอาหารจำพวกสังกะสี ไบโอติน และวิตามินดี เพิ่มเติมในแต่ละวันค่ะ

ปัญหาผมบาง ผมร่วง รักษาได้ที่ The One Clinic

The One Clinic คลินิกรักษาปัญหาผิวและเส้นผมย่านห้วยขวาง วินิจฉัยต้นตอของผมบางและทำการรักษาโดยแพทย์ทุกเคส รวมทั้งออกแบบการรักษาและแนะนำโปรแกรมที่เหมาะกับปัญหารายบุคคล โดยไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องปลูกผม ที่สำคัญคือเห็นผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ

สอบถามข้อมูลการรักษาปัญหาผมบาง ผมร่วง หรือ ขอดูเคสรีวิวเพิ่มเติม สามารถติดต่อผ่านทาง Add Line: @theoneclinic (มี@) หรือ โทร. 093-5830921

บทความที่คล้ายกัน

สิวยีสต์

สิวยีสต์ สิวเชื้อรา ไม่หายสักที! รู้สาเหตุ วิธีป้องกัน หมดปัญหาสิวกวนใจ

เป็นสิวยีสต์ สิวเชื้อรา ไม่หายสักที? รู้ทันสาเหตุที่แท้จริง พร้อมวิธีป้องกันและรักษาแบบตรงจุด ไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ เพื่อผิวหน้าที่ใสเรียบเนียนไร้สิวกวนใจ

หนังศีรษะลอก

หนังศีรษะลอก แห้ง คัน คืออะไร? รู้สาเหตุและวิธีรักษา เพื่อหนังศีรษะกลับมาสุขภาพดีอีกครั้ง

หนังศีรษะลอก แห้ง คัน เกิดจากอะไร? รู้สาเหตุและวิธีรักษา พร้อมเคล็ดลับดูแลหนังศีรษะให้กลับมาสุขภาพดี ลดอาการคันได้อย่างมีประสิทธิภาพกับ The One Clinic

รอยสิว

รอยสิวคืออะไร? รักษาและป้องกันอย่างไรให้ผิวหน้ากลับมาเรียบเนียนไร้จุดด่างดำ

รอยสิวคืออะไร? รู้วิธีรักษาและป้องกันอย่างถูกต้อง เพื่อให้ผิวหน้ากลับมาเรียบเนียน ลดจุดด่างดำ พร้อมเคล็ดลับดูแลผิวให้กระจ่างใส! กับ The One Clinic